กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอชรา ชีวายืนยาว
รหัสโครงการ L5169-67-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุรีรัตน์ จันทคาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2568 28,000.00
รวมงบประมาณ 28,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged society) เนื่องจากจานวนประชากรผู้สูงอายุ ได้มีการเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิงขนาดและสัดส่วน โดยในปีพ.ศ.2562 มีจานวนผู้สูงอายุ ร้อยละ 17.5 และในปี2563 จะเป็น ครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก ในอนาคตอันใกล้ ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น อีกมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์(Complete Aged Society) คือมีผู้สูงอายุร้อยละ 20 ในปี2564 และคาดว่าในปีพ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 28 จะเห็นว่าความเร็วของการเปลี่ยนจากสังคมสูงวัย (Aged Society) เข้าสู่ สังคม สูงวัยแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ของประเทศไทยจะใช้เวลาสั้นกว่ามาก เมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558) ประกอบกับสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ80 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน และผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อผู้สูงอายุมีจานวนมากขึ้น อัตราส่วน ประชากรวัยแรงงานต่อการการดูแลวัยสูงอายุ 1 ราย จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยปีพ.ศ. 2558 ผู้สูงอายุ 1 คน มีวัยแรงงานดูแล 6.8 และปีพ.ศ.2593 ผู้สูงอายุ1 คน มีวัยแรงงานดูแล 2.0 การที่ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น ส่งผล ให้เกิดโรค หรือกลุ่มอาการสูงอายุจากความเสื่อม อันเนื่องมาจากการสูงวัยมากขึ้นตามด้วย ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยสูงอายุ จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยา รวมทั้งการดูแลรักษาฟื้นฟูที่แตกต่างจากผู้ป่วยวัยอื่น ๆ เช่น ระบาดวิทยาของโรค ลักษณะทางคลินิก และการวินิจฉัยโรค ดังนั้นการดูแลรักษาจึงต่างจากผู้ป่วยวัยอื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่ยิ่งมีอายุมาก การดูแลรักษาย่อมมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะสมอง เสื่อม หรือ ภาวะพลัดตกหกล้ม ด้านสุขภาพช่องปาก ด้านภาวะโภชนาการ ด้านสุขภาพจิต ด้านสิ่งแวดล้อม สมควรได้รับการดูแลรักษาที่เป็นเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และได้รับการ ส่งต่อ เพื่อรับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและเหมาะสม
ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานมีประชากร ผู้สูงอายุ ร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งตำบลถือเป็นสังคมผู้สูงอายุก่อนจัดทําแผนการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว หรือ Wellness Plan ผู้สูงอายุจําเป็นต้อง ทําความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนของ Wellness Plan มีความรู้ความ เข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวทาง 6 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุด้านโภชนาการสําหรับผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสมอง“ผู้สูงอายุสมองดี”สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ความสุขของผู้สูงอายุสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสําหรับผู้สูงอายุจากข้อมูลเบื้องต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอชรา ชีวายืนยาวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมร้อยละ80

1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการ สามารถจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดี

ผู้สูงอายุมีการปฎิบัติตัวตามแผนการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ80

50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมได้ร่วมพูดคุยและมีกำลังใจ สร้างความรัก ความสามัคคี ความสัมพันธ์ที่มีระหว่าง ผู้สูงอายุกับคนทุกวัยให้อยู่ร่วมกันมในสังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข

ผู้สูงอายุมีการเข้าร่วมกิจกรรมและสามารถถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับสมาชิกและผู้อื่นได้เดือนละ 1 ครั้ง

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 28,000.00 0 0.00 28,000.00
9 ก.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอ ชรา ชีวายืนยาว 50 28,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 50 28,000.00 0 0.00 28,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเองได้ และสามารถจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดี
  2. ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ สามารถผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ
  3. ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อแก่เพื่อนสมาชิกชมรม/กลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุในชุมชน หรือผู้ที่สนใจต่อไปได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2567 14:29 น.