กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลตะโหมด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาตำบลตะโหมด

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานงานองค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อค้นหาปัญหาด้านสุขภาพและความต้องการของประชาชน ร่วมกันวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจการด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ จะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน เช่น ตัวแทนจากชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มาร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการกองทุนให้บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลตะโหมดได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกตามนโยบายของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 นั้น เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินรายรับของกองทุนฯในแต่ละปีงบประมาณ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการบริหารจัดการกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ

สามารถอนุมัติโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

2.00 2.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุน

คณะกรรมการ อนุกรรมการ มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุน

1.00 1.00
3 เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ

มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณครบถ้วนร้อยละ 100

2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุน 26
เครือข่ายด้านสุขภาพ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุน และอนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุน และอนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน ไม่เกิน 4 ครั้ง ต่อปี ค่าใช้จ่าย :ค่าตอบแทนกรรมการ จำนวน 20 คน ๆละ 400 บาท เป็นเงิน32,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 34,000 บาท
1.2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน
ค่าใช้จ่าย : ค่าตอบแทนอนุฯกลั่นกรองโครงการจำนวน 8 คน 1 ครั้งๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน200 บาท
ค่าตอบแทนอนุฯงานบริหารทั่วไป จำนวน6 คน 4 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 600 บาท ค่าตอบแทนอนุฯ ติดตามผล 6 คน 1 ครั้งๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท อาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน150 บาท
รวมเป็นเงิน 12,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ประชุมได้ตามแผนที่กำหนดไว้
ผลลัพธ์ - อนุมัติโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะโหมด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46950.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดประชุมอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการดูแลรายบุคคลและติดตามการดำเนินงาน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ค่าใช้จ่าย : ค่าตอบแทนอนุฯ จำนวน 9 คน ๆ ละ 300 บาท2 ครั้ง เป็นเงิน 5,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 450 บาท
รวมเป็นเงิน 5,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - จัดประชุมได้ตามแผนที่กำหนด
- อนุมัติแผนการดูแลรายบุคค ผลลัพธ์ - ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5850.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ และจัดทำแผนงาน ปีละ 1 ครั้ง
  • ค่าเดินทางไปราชการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ จำนวน 1 ครั้งต่อปี - จัดทำแผนงานกองทุน ผลลัพธ์ - คณะกรรมการกองทุนและอนุกรรมการมีครวามรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุน - มีแผนงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ส.2568

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5594.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,394.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
2. สามารถอนุมัติแผนงาน โครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กองทุน


>