กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ้งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากหลงเชื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตราย ซึ่งร้านชำในชุมชนมีแหล่งจัดจำหน่ายสินค้าทางสุขภาพหลากหลายชนิด อาทิเช่น ยาสามัญประจำบ้าน เครื่องสำอาง อาหาร บุหรี่และแอลกอฮอร์ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำให้เกิดผลเสีย ต่อผู้บริโภคได้ เช่น การจำหน่ายอาหารที่หมดอายุ อาหาร ที่ไม่มีเลขสารบนอาหาร (เลขอย.) เเละยังมีกลุ่มเครื่องสำอางที่ไม่มีเลขที่ใบรับจดแจ้ง รวมถึงเครื่องสำอางที่พบสารต้องห้าม ทั้งนี้ยังจำหน่ายยาอันตรายบางประเภทที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำ เช่น ยาชุด ยาปลอม ยาที่ไม่มีเลขทะเบียน เป็นต้น ซึ้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เรื่องการเลือกซื้อและเลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลต่อผู้บริโภคได้ และในปัจจุบันการสื่อสารออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในกระบวนการตลาดการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ในกระบวนการต่างๆ จะยิ่งเสริมการบริโภค ในสังคมอย่างมาก หรือที่เรียกว่า เกิดรูปแบบที่เรียกว่าการบริโภคนิยมขึ้นในสังคม ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะบริโภค เกินกว่าความต้องการที่แท้จริง ตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้น อาทิ การบริโภคยา หรืออาหารอย่างฟุ่มเฟือยจนบางครั้งเกิดโรคภัยไข้เจ็บจากผลิตภัณฑ์ที่บริโภคเข้าไปหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมนอกจากนี้ในระยะยาวยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสมดุลด้านต่างๆในโลกเพราะยิ่งมีการบริโภคมากยิ่งขึ้นเท่าไหรก็จะยิ่งมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้นเท่านั้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔ เป็นหน่วยบริการด้านสุขภาพภาครัฐที่ อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด และประกอบไปด้วยเครือข่าย ภาคประชาชนในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพหากบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และเครือข่ายสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ( คบส.) ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานของผู้บริโภค ไม่ให้ถูกหลอกลวงจากผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านผัง ๓๔ จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้บริบท ที่สำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค คือ การเข้าถึงบริการการดูแลต่อเนื่อง การดูแลแบบองค์รวมและผสมผสาน การประสานบริการ และยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และ เพิ่มศักยภาพในงานคุ้มครองผู้บริโภค

ร้อยละ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความรู้ ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัย และ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยชุดทดสอบขั้นพื้นฐานในชุมชนได้

ร้อยละ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความสามารถในการทดสอบสิ่ง ตัวอย่างเบื้องต้น

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตรวจสอบและเฝ้าระวัง ให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยในด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค

ร้อยละ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถรายงานผลการเฝ้าระวังและผลการทดสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ( ๓ เดือน ครั้ง )

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2024

กำหนดเสร็จ : 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑) ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน ๗๐ ชุดๆละ ๕๐ บาทเป็นเงิน ๓,๕๐๐.- บาท

(๒) ค่าชุดทดสอบ จำนวน๑๑ ชุด(รายละเอียดแนบท้าย ) เป็นเงิน ๙,๐๐๐- บาท

(๓) ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๓ ตร.ม. ตร.ม. ละ ๑๕๐ บาทจำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๔๕๐.- บาท

(๔) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๗๐ คน ๆ ละ ๒มื้อ ๆ ละ๓๕.- บาท เป็นเงิน ๔,๙๐๐.- บาท

(๕) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน๗๐คน ๆ ละ ๑ มื้อ ๆ ละ๗๐.-บาท เป็นเงิน ๔,๙๐๐.-บาท

(๖) ค่าสมนาคุณวิทยากร บรรยาย/ฝึกปฏิบัติ/เสวนา/อภิปราย ,บุคคลรัฐ/ภาคเอกชน๖.๑ วิทยากรจาก ศวก.ตรังจำนวน๑คน ๆ จำนวน๖ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐.- บาท เป็นเงิน๓,๖๐๐. บาท

รวมกิจกรรมที่ ๑ เป็นเงิน๒๖,๓๕๐-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. มีศูนย์กลางเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

๒. ชุมชนมีองค์ความรู้ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพได้อย่างปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกปฏิบัติงานทดสอบ ผลิตภัณฑ์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกปฏิบัติงานทดสอบ ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  ๗๐  คน ๆ ละ ๒ มื้อ ๆ ละ ๓๕.- บาท           เป็นเงิน ๔,๙๐๐.บาท

(๒) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๗๐ คนๆละ ๑ มื้อๆละ  ๗๐.-บาท                         เป็นเงิน  ๔,๙๐๐.-บาท

(๓) ค่าสมนาคุณวิทยากร บรรยาย/ฝึกปฏิบัติ/เสวนา/อภิปราย ,บุคคลรัฐ/ภาคเอกชน     ๓.๑ วิทยากรจาก ศวก.ตรัง  จำนวน  ๑  คน ๆ ละ  ๖  ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๓,๖๐๐.- บาท

รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน  ๑๓,๔๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. มีศูนย์กลางเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

๒. ชุมชนมีองค์ความรู้ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพได้อย่างปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. มีศูนย์กลางเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

๒. ชุมชนมีองค์ความรู้ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพได้อย่างปลอดภัย


>