โครงการพัฒนาการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L5282-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔ |
วันที่อนุมัติ | 20 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 39,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววิลาวัลย์ ขวัญทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวิตรี อนันตะพงษ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔ |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ้งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากหลงเชื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตราย ซึ่งร้านชำในชุมชนมีแหล่งจัดจำหน่ายสินค้าทางสุขภาพหลากหลายชนิด อาทิเช่น ยาสามัญประจำบ้าน เครื่องสำอาง อาหาร บุหรี่และแอลกอฮอร์ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำให้เกิดผลเสีย ต่อผู้บริโภคได้ เช่น การจำหน่ายอาหารที่หมดอายุ อาหาร ที่ไม่มีเลขสารบนอาหาร (เลขอย.) เเละยังมีกลุ่มเครื่องสำอางที่ไม่มีเลขที่ใบรับจดแจ้ง รวมถึงเครื่องสำอางที่พบสารต้องห้าม ทั้งนี้ยังจำหน่ายยาอันตรายบางประเภทที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำ เช่น ยาชุด ยาปลอม ยาที่ไม่มีเลขทะเบียน เป็นต้น ซึ้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เรื่องการเลือกซื้อและเลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลต่อผู้บริโภคได้ และในปัจจุบันการสื่อสารออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในกระบวนการตลาดการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ในกระบวนการต่างๆ จะยิ่งเสริมการบริโภค ในสังคมอย่างมาก หรือที่เรียกว่า เกิดรูปแบบที่เรียกว่าการบริโภคนิยมขึ้นในสังคม ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะบริโภค เกินกว่าความต้องการที่แท้จริง ตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้น อาทิ การบริโภคยา หรืออาหารอย่างฟุ่มเฟือยจนบางครั้งเกิดโรคภัยไข้เจ็บจากผลิตภัณฑ์ที่บริโภคเข้าไปหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมนอกจากนี้ในระยะยาวยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสมดุลด้านต่างๆในโลกเพราะยิ่งมีการบริโภคมากยิ่งขึ้นเท่าไหรก็จะยิ่งมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้นเท่านั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง ๓๔ เป็นหน่วยบริการด้านสุขภาพภาครัฐที่ อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด และประกอบไปด้วยเครือข่าย ภาคประชาชนในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพหากบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และเครือข่ายสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ( คบส.) ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานของผู้บริโภค ไม่ให้ถูกหลอกลวงจากผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านผัง ๓๔ จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้บริบท ที่สำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค คือ การเข้าถึงบริการการดูแลต่อเนื่อง การดูแลแบบองค์รวมและผสมผสาน การประสานบริการ และยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และ เพิ่มศักยภาพในงานคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความรู้ ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัย และ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยชุดทดสอบขั้นพื้นฐานในชุมชนได้ ร้อยละ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความสามารถในการทดสอบสิ่ง ตัวอย่างเบื้องต้น |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตรวจสอบและเฝ้าระวัง ให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยในด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถรายงานผลการเฝ้าระวังและผลการทดสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ( ๓ เดือน ครั้ง ) |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 140 | 39,750.00 | 0 | 0.00 | 39,750.00 | |
1 - 31 ส.ค. 67 | กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ | 70 | 26,350.00 | - | - | ||
1 - 31 ส.ค. 67 | กิจกรรมฝึกปฏิบัติงานทดสอบ ผลิตภัณฑ์ในชุมชน | 70 | 13,400.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 140 | 39,750.00 | 0 | 0.00 | 39,750.00 |
๑. มีศูนย์กลางเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน
๒. ชุมชนมีองค์ความรู้ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพได้อย่างปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2567 09:30 น.