กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์และส่งเสริมสุขภาพเด็กเชิงรุกสู่ชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ หมู่ที่ 4 บ้านคลองประดู่

1. นางสาวซาลีป๊ะ เพ็ชรแก้ว
2. นางสาวรอฮาณี บ่อเตย
3. นางสาวสาลูมา สลำ
4. นางสาวอนุสรา สุทธิประดิษฐ
5. นางสาวปิยะนุช ดาโอะ

หมู่ที่ 4 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในอดีตสังคมไทยที่เคยเป็นครอบครัวขยายก็กลายเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงมีมากขึ้น การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูลูกในวัยต่าง ๆตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น บิดามารดามีเวลาในการเลี้ยงดูลูกน้อยลง สถาบันครอบครัวอ่อนแอจนอาจเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็กในระยะยาว ปัจจุบันพบว่าจังหวัดสงขลามีอัตรามารดา และทารกเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจากโรคแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ( HT DM Thyroid Heart และ PPH) มีผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2564-2566) พบว่ามารดามีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (มากกว่าร้อยละ 60) ร้อยละ 82.14,89.13 และร้อยละ 83.33 ตามลำดับ อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 (น้อยกว่าร้อยละ 10) ร้อยละ 7.95, 26.82 ทารกน้ำหนักต่ำกว่า ๒๕๐๐ กรัม (น้อยกว่าร้อยละ6) ร้อยละ6.56, 12.28 และ 9.23 ตามลำดับ มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 59.57,79.69 และร้อยละ12.28 ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2560-2562 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 21.04ร้อยละ 21.55และ59.62ตามลำดับ
ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งมารดาคลอด และดูแลตามวัยจนอายุ 5 ปีให้มีความปลอดภัยทั้งชีวิตมารดาและทารก ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ หมู่ที่ 4 บ้านคลองประดู่ จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก ในพื้นที่เขตรับผิดชอบโดยการสร้างความร่วมมือกับครอบครัว ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็กพร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 การพัฒนารูปแบบการจัดบริการโรงเรียนพ่อแม่ในคลินิกANC และ WBC

เกิดรูปแบบการจัดบริการโรงเรียนพ่อแม่แนวใหม่แบบBBL และแบบการมีส่วนร่วม

50.00 75.00
2 เสริมพลังหญิงตั้งครรภ์ สามี พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก ในการเลี้ยงเด็กอายุ 0-5 ปี ให้มีคุณภาพ

ได้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นรูปธรรม

50.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์ สามี ร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และร่วมกันออกแบบกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตมารดาและทารก - ค่าอาหารว่าง 25บ.x50คนx2 = 2,500 บ. - ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน = 500 บ. - ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x 50 คน = 2,500 บ. - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชั่วโมง = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 สนทนากลุ่ม (Focus group)

ชื่อกิจกรรม
สนทนากลุ่ม (Focus group)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนทนากลุ่ม (Focus group) กับ พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี เป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องการดูแลเด็ก - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x60คนx2 =3,000บ.
- ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x 60คน = 3,000 บ. - ค่าวัสดุอุปกรณ์ =750

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่โดยจัดฐานเรียนรู้คุณภาพชีวิตเด็กแบบมีส่วนร่วม และเสริมพลังแบ่งออกเป็น 4 ฐาน - ค่าอาหารว่าง 25บ.x 60 คน = 1,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนกลุ่มพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก และกลุ่มภาคีเครือข่ายอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนกลุ่มพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก และกลุ่มภาคีเครือข่ายอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนกลุ่มพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก และกลุ่มภาคีเครือข่ายอายุ 0-5 ปีร่วมสะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพเด็ก และร่วมประเมินผล - ค่าอาหารว่าง 25บ.x 50 คน = 1,250 บ. - ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 พัฒนาศักยภาพอสม.

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพอสม.เยี่ยมบ้านอนามัยมารดาและนมแม่ - ค่าอาหารว่าง 25บ.x25คนx2 =1,250 บ.
- ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x 25คน = 1,250 บ. - ค่าวิทยากร ชม. ละ600x5ชม.= 3,000 - ค่าวัสดุอุปกรณ์ =750

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดทุกราย
2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง
3. เด็ก 0 – 6 ได้รับด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน
4. เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกช่วงวัย
5. ไม่มีมารดาเสียชีวิตเกิดขึ้นในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านคลองประดู่PCU1-2
6. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 10
7. เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
8. หญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด (ต่ำกว่า 37 สัปดาห์) ลดลงร้อยละ 10 เทียบปีที่ผ่านมา
9. ไม่เกิดภาวะ DFIU ( Death fetus in utero ) หรือไม่เกินร้อยละ 3


>