กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฎณิชาสมจิตร
3. นางกิตติยาพรหมปาน
4. นางสาวเบญจมาศเกื้อสุข

หมู่ที่ 1,7,9, ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

1.00
2 อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน (CI) ไม่เกินร้อยละ 10

 

29.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะเบื่ออาหารอาเจียนซึมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุงในปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 29 ส.ค. 66 พบผู้ป่วย 828 ราย ยังไม่ผู้เสียชีวิต แต่การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เนื่องมีฝนตกหนักและฝนตกสะสมหลายพื้นที่ ซึ่งหากฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ สำหรับอำเภอเมืองพัทลุง ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 29 ส.ค. 66 มีผู้ป่วย จำนวน 132 ราย คิดมีอัตราป่วย 109.7 ต่อแสนประชากร เป็นอันดับที่ 8 ของจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง, 2566) จากข้อมูลรายงาน 506 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย อัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง จากการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ทั้ง HI และ CI เกินค่ามาตรฐานเกือบทุกเดือน ทุกปีชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (CI ≤10) ภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก แจกันที่ศาลพระภูมิ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และไม่ทำทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอ จึงจัดโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเน้นให้ ประชาชนในชุมชน โรงเรียน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านตนเอง จะช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกชะงายลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

1.00 0.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,793
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/12/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรณรงค์ Big Cleaning Dayเพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลังคาเรือนได้รัการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่ (SRRT) ร่วมกับภาคีเครือข่าย

1.1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

1.2 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

1.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

1.4 ค่าชุดเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  1. ลงพื้นที่สุ่มไขว้และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้าน โดยตัวแทนทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ร่วมกับภาคีเครือข่าย

  2. ดำเนินการสุ่มไขว้สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย หมู่บ้านละ 30 หลัง ควบคู่กับการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม

  3. สรุปผลข้อมูลการสุ่มไว้ลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านในเวทีประชุมหมู่บ้านหรือนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีมีผู้ป่วยหรือสงสัยป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีมีผู้ป่วยหรือสงสัยป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสเปรย์กำจัดยุงตัวแก่จำนวน 50 กระป๋องๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน5,000 บาท

  2. ค่าโลชั่นทากันยุงตัวแก่ แบบขวดจำนวน 50 ขวดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

  3. ค่าจ้างพ่นหมอกควันควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก กรณีมีผู้ป่วยหรือสงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก บริเวณบ้านและในรัศมี 100 เมตร รอบบ้าน จำนวน 10 ราย รายละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาทจำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 9000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 4

ชื่อกิจกรรม
ระบุชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งยาว ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง


>