แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด รหัส กปท. L3357
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2567 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ตำบลนาโหนด ประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,762คน ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 1,698 คน คิดเป็นร้อยละ 96.37 พบว่ารวมกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด จำนวน 332 คนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 221 คน (ค่าน้ำตาลในเลือด 110 mg% ขึ้นไป) เป็นกลุ่มสงสัยเป็นเบาหวาน จำนวน 12 คน (ค่าน้ำตาลในเลือด 126 mg% ขึ้นไป) ส่วนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตมากกว่า 140/90 mmHg) จำนวน 111 คน เป็นกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 69 คน(ค่าความดันโลหิตมากกว่า 160/100 mmHg) จากการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเสี่ยงที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาตามระบบ รายใหม่ โรคเบาหวาน จำนวน 4 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโหนด มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน จำนวน 221คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 546 คน รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด จำนวน 204 คน ผู้ป่วยบางส่วนต้องไปรับยาผ่านคลินิกเติมยาจากโรงพยาบาลพัทลุงและจากหน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุไม่สะดวกในการไปรับยาโรคเรื้อรัง เป็นเหตุให้ผู้ป่วยบางคนต้องขาดยาไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ได้แก่ ไตวายเรื้อรังโรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และการสูญเสียอวัยวะ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ปี 2568 ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก และเพื่อให้สามารถดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และป้องกันการขาดยาต่อไป
-
1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,707 คนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงตัวชี้วัด : ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน1,707 คนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ90ขนาดปัญหา 1707.00 เป้าหมาย 1537.00
-
2. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คนได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 70.00
-
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ได้รับการอบรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวชี้วัด : ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ได้รับการอบรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 80 คน ได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 80.00
- 1. กิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายละเอียด
1.1 ค้นหากลุ่มเป้าหมาย
1.2 จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานและประชาสัมพันธ์แผนการดำเนินงานในเขตรับผิดชอบผ่านทาง อสม. ผู้นำชุมชน และแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ผ่านช่องทางต่างๆ กลุ่มไลน์ เสียงตามสายประจำหมู่บ้าน
1.3 ออกเจาะเลือดโดยเครื่อง DTX เพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือด และวัดความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมายพร้อมลงบันทึกและประเมินผล
1.4 กลุ่มเป้าหมายที่ระดับน้ำตาล มากกว่าหรือเท่ากับ 100mg% นัดเจาะซ้ำห่างจากครั้งแรก 4 สัปดาห์ ถ้าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126mg% นัดเจาะซ้ำห่างจากครั้งที่ 2-8สัปดาห์ ถ้าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg % รวบรวมรายชื่อ เพื่อจัดทำแผน นัดตรวจเลือดซ้ำจากหลอดเลือดดำและส่งพบแพทย์
1.5 ผู้ป่วยที่ระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 120/80 mmHg นัดวัดความดันโลหิตซ้ำห่างจากครั้งแรก 4 สัปดาห์ ถ้าระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 - 180/110 mmHg ติดตาม โดยทำ Home BP7 วัน (วัดความดันโลหิตที่บ้าน)ถ้าระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ180/110 mmHg ส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุงเพื่อรับการรักษาจากแพทย์
1.6 แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยให้สุขศึกษารายกลุ่ม
1.7 ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพื่อการดูแลและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
1.8 ติดตามประเมินผลโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัว
1.9 ประเมินผลกิจกรรม
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- แถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 50 กล่องๆ ละ 800 บาทเป็นเงิน 40,000 บาท
- เข็มเจาะเลือดจำนวน 25 กล่องๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท
- เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 8 เครื่องๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 20,000 บาทงบประมาณ 72,500.00 บาท - 2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายละเอียด
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
โดยดำเนินการ ดังนี้
การเตรียมการ
1.สำรวจข้อมูล กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง
2.ประสานงานทีมวิทยากร
3. จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือตรวจวัดต่าง ๆ
การดำเนินการ
1.จัดอบรม
1.1ลงทะเบียนและเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิตชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาดัชนีมวลกาย แจ้งผลการตรวจเบื้องต้น ตรวจสอบประวัติการรักษา เพื่อใช้เปรียบเทียบประเมินผลหลังการอบรม
1.2 ให้ความรู้เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
1.3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
1.4 แจ้งแผนการออกติดตาม
งบประมาณที่ใช้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ดำเนินการจำนวน 72 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาทงบประมาณ 3,000.00 บาท - 3. การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเรื้อรังรายละเอียด
การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเรื้อรัง
โดยจัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 80 คน (คนที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้และคนที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน)
1.จัดทำทะเบียน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (คนที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้และคนที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน)
2.ประสานงานทีมวิทยากร
3.จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือตรวจวัดต่าง ๆ
4.ประชุมชี้แจง อสม.เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของตัวเอง
5.จัดอบรมผู้ป่วยที่รับยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสามารถควบคุมโรคได้ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
6.ผู้ป่วยได้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีฟังผลการตรวจเลือดการติดตามอาการจากแพทย์
7.ผู้ป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้ เสี่ยงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการเลือดเลือด รอบ2พร้อมนัดพบแพทย์
8.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อติดตามผลการรักษาและปัญหาต่าง ๆ
9.ประเมินผลโครงการปีงบประมาณ 2568 เพื่อค้นหาปัญหาดำเนินการแก้ไขในปีงบประมาณ 2569 ต่อไป
งบประมาณที่ใช้
- ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าประเป๋าผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 ใบๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาทงบประมาณ 14,400.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2568
1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด 2. ศาลาหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1, 3 , 6 และ 10 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
รวมงบประมาณโครงการ 89,900.00 บาท
1.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,586 คน 2.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่่ยง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน จำนวน 100 คน 3.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนดที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้/เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้รับการอบรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดตามผลการตรวจเลือดประจำปี ปีละ 2 ครั้ง พบแพทย์เดือนละ 1 ครั้ง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด รหัส กปท. L3357
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด รหัส กปท. L3357
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................