กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4, 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4, 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ดอนประดู่

1. นายสมคิด ทองศรี
2. นางจินดา นุ่น
3. นางรัชนี แก้วพรมศรี
4. นางสาวสุคนธ์ อำพะสุโร
5. นางออมสิน เขียวใหญ่

หมู่ที่ 4,5 และ 7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มเมตาโบลิก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน และบริโภค ผัก ผลไม้ไม่พียงพอ ความเครียดเรื้อรัง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น หากประชาชนที่มีความเสี่ยงหรือป่วย ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และการักษาที่เหมาะสม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้พิการและเสียชีวิต เช่น โรคไตวาย ตาบอด โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองแตกได้
จากข้อมูลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ พบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 พบว่า กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 97.70 และ 96.80 ตามลำดับ ได้รับการส่งต่อเพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ ร้อยละ 30.83 และ 58.70 ตามลำดับและได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน(รายใหม่) ร้อยละ 18.58 และเป็นโรคความดันโลหิตสูง(รายใหม่) ร้อยละ 16.50ซึ่งกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ได้รับการติดตามและส่งต่อล่าช้า เนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินการติดตามและส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเพื่อพบแพทย์ได้ตามกำหนดได้
เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ จึงจัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4, 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปี 2567 ขึ้น เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้กับกลุ่มเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มที่มีความเสี่ยง และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการติดตามดูแลตามแนวทางการตรวจรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ข้อที่ 1 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

100.00 97.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ข้อที่ 2. ร้อยละ 90 ของกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

100.00 90.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อติดตามดูแล และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้พบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยตามแนวทางการตรวจรักษา

ข้อที่ 3. ร้อยละ ๘0  ของกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยตามแนวทางการตรวจรักษา

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 10/09/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.1 กิจกรรมย่อย : ประชุม อสม.เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
1.1 กิจกรรมย่อย : ประชุม อสม.เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.1 จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2.1 จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 100 แถบ/ กล่อง ราคากล่องละ 861 บาท จำนวน 7 กล่อง รวมเป็นเงิน 6,027 บาท
  2. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน จำนวน 3 เครื่อง ราคาเครื่องละ 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท
  3. ค่าจ้างทำแบบคัดกรอง จำนวน 700 แผ่น (2หน้า) ราคาผ่านละ 2 บาท รวมเป็นเงิน 1,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14927.00

กิจกรรมที่ 3 2.2 กิจกรรมย่อย : พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ชื่อกิจกรรม
2.2 กิจกรรมย่อย : พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน  50 คน คนละ  1 มื้อ ราคามื้อละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 2.3 กิจกรรมย่อย : ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
2.3 กิจกรรมย่อย : ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 130 คน คนละ  1 มื้อ ราคามื้อละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 3,900 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 130 คน คนละ  1 มื้อ ราคามื้อละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 7,800 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท 5.ค่าเช่าเต็นท์ 1 หลัง เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กันยายน 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16700.00

กิจกรรมที่ 5 2.4 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเพื่อพบแพทย์และดูแลต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
2.4 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเพื่อพบแพทย์และดูแลต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,127.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>