กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

จัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนกกลิ่นรส
2. นางสาวณัฎณิชาสมจิตร
3. นางสาวเบญจมาศเกื้อสุข
4. นางกิตติยาพรหมปาน
5. นางยุพยงค์เพชรรักษ์

หมูที่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

37.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

12.00

ในสภาวะปัจจุบันสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยง มีผลกระทบต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจุยเสี่ยงในยุคบริโภคนิยมและโลกาภิวัฒน์ การจัดการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงนั้น จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มแข็งของชุมชนเป็นกลไก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน795 หลังคาเรือน ประชากร 2,739 คนประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านควนใหม่ 195 หลังคาเรือน หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งยาว 427 หลังคาเรือนหมู่ที่ 9 บ้านควนใหม่173 หลังคาเรือนโดยประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน รับจ้างประกอบอาชีพรับจ้างนอกบ้าน จึงมีเวลามารับบริการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังหรือตรวจคัดกรองซ้ำไม่ตรงกับเวลานัดของ รพ.สต. จึงเป็นปัญหาของวัยทำงานด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่ซื้ออาหารสำเร็จรูปจากตลาดนัดในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียงซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังดังนั้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นับได้ว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากสภาพปัญหาการเจ็บป่วยในปัจจุบันการจัดการสุขภาพจำเป็นต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับ บุคคล การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงจัดทำโครงการการจัดบริการสถานีสุขภาพในชุมชนแบบม่ส่วนร่วมของชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

37.00 28.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

12.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 187
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/11/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งศูนย์จัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์จัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดจุดบริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ที่ศาลาเอนกประสงค์ของแต่ละหมู่บ้าน 2. การส่งต่อข้อมูลการประเมินสุขภาพผ่านอุปกรณืดิจิทัล เพื่อการดูแลและติดตามสุขภาพของจนเอง ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจประเมินคัดกรองในวันนัดของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้าถึงบริการสุขภาพทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายไวนิลสถานีสุขภาพ จำนวน 3 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท (หมู่บ้านละ 1 ป้าย)
  2. เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทอล จำนวน 3 เครื่องๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท (หมู่บ้านละ 1 เครื่อง)
  3. เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 3 เครื่องๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
  4. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา จำนวน6 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 15000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครื่องมือ อุปกรณ์ พร้อมให้บริการกับประชาชนกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจประเมินคัดกรองในวันนัดของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้าถึงบริการสุขภาพทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

กิจกรรมที่ 3 3. ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
3. ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  4. เยี่ยมครัวเรือนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื่องการบริโภคหวาน มัน เค็ม
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทุกคน
  2. ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกคน
  3. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกกลุ่ม
  4. เยี่ยมครัวเรือนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื่องการบริโภคหวาน มัน เค็ม ทุกครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.2
3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้รายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 2.7


>