กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
รหัสโครงการ 2568-L3351-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 พฤศจิกายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 29 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 26,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.624248,100.014553place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 187 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
25.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
37.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสภาวะปัจจุบันสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยง มีผลกระทบต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจุยเสี่ยงในยุคบริโภคนิยมและโลกาภิวัฒน์ การจัดการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงนั้น จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มแข็งของชุมชนเป็นกลไก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน795 หลังคาเรือน ประชากร 2,739 คนประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านควนใหม่ 195 หลังคาเรือน หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งยาว 427 หลังคาเรือนหมู่ที่ 9 บ้านควนใหม่173 หลังคาเรือนโดยประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน รับจ้างประกอบอาชีพรับจ้างนอกบ้าน จึงมีเวลามารับบริการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังหรือตรวจคัดกรองซ้ำไม่ตรงกับเวลานัดของ รพ.สต. จึงเป็นปัญหาของวัยทำงานด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่ซื้ออาหารสำเร็จรูปจากตลาดนัดในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียงซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังดังนั้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นับได้ว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากสภาพปัญหาการเจ็บป่วยในปัจจุบันการจัดการสุขภาพจำเป็นต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับ บุคคล การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงจัดทำโครงการการจัดบริการสถานีสุขภาพในชุมชนแบบม่ส่วนร่วมของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

37.00 28.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

12.00 7.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,400.00 0 0.00
6 พ.ย. 67 - 31 ก.ค. 68 จัดตั้งศูนย์จัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 0 0.00 -
6 พ.ย. 67 - 31 ก.ค. 68 2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดบริการสถานีบริการสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 0 26,400.00 -
6 พ.ย. 67 - 31 ก.ค. 68 3. ติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.2
  3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้รายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 2.7
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2567 00:00 น.