กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง ปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง

ตำบลคูหาสวรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานจากการคัดกรอง

 

1.88
2 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง

 

12.08

1.ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานจากการคัดกรอง ขนาด 1.88
2.ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ขนาด 12.08

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มสงสัยป่วย มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และลดภาวะเเทรกซ้อนได้

กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับพฤติกรรม ด้านอาหาร อารมณ์ และออกกำลังกายดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีค่าน้ำตาล ค่าความดัน BMI รอบเอวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 30

150.00 45.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center (ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน)

กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center อย่างน้อย ร้อยละ 90

30.00 27.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100

กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรอง 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม+ผูู้ที่เกี่ยวข้อง 1 มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 55 คน x3ศูนย์เเพทย์ เป็นเงิน 4,950 บาท 2. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทx 3 ศูนย์แพทย์เป็นเงิน 5,400 บาท 3. ค่าวัสดุเป็นเงิน 1,000 บาท x3 ศูนย์แพทย์ เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าคู่มือความรู้สุขภาพดี 150 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีค่าน้ำตาล ค่าความดัน BMI รอบเอวลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16350.00

กิจกรรมที่ 2 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 1 (ช่วงระยะเวลา 1 เดือน)

ชื่อกิจกรรม
การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 1 (ช่วงระยะเวลา 1 เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 1 (ช่วงระยะเวลา 1 เดือน) โดยตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต วัดดัชนีมวลกาย และวัดองค์ประกอบมวลกาย ติดตามพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center เป็นรายกรณี
1. ค่าอาหารว่างมื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 55 คนx3 ศูนย์แพทย์เป็นเงิน 4 ,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีค่าน้ำตาล ค่าความดัน BMI รอบเอวลดลงย่างน้อยร้อยละ 30
  2. กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center เป็นรายบุคคล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4950.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 2 (ช่วงระยะเวลา 3 เดือน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 2 (ช่วงระยะเวลา 3 เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 2 (ช่วงระยะเวลา 3 เดือน) โดยตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต วัดดัชนีมวลกาย และวัดองค์ประกอบมวลกาย ติดตามพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย
กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรค ได้รับการส่งต่อและรักษาเป็นรายกรณี
1. ค่าอาหารว่างมื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 55 คนx3 ศูนย์แพทย์เป็นเงิน 4 ,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับพฤติกรรม ด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายดีขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีค่าน้ำตาล ค่าความดัน BMI รอบเอวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 30 2.กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center ร้อยละ 90 3.กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรค ได้รับการส่งต่อและรักษาเป็นรายกรณี ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น มีค่าระดับความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือดลดลง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และลดภาวะแทรกซ้อนได้


>