กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง ปี 2568
รหัสโครงการ 2568-L7572-01-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศศิธร เอียดคล้าย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานจากการคัดกรอง
1.88
2 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง
12.08

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ปี 2567 พบปัญหา 5 อันดับโรคที่สำคัญ คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง (เต้านม,ปากมดลูก,ลำไส้) ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ควรมีการจัดการอย่างจริงจังตั้งแต่เบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้นๆ มาอย่างต่อเนื่องนั่นก็คือ โรคความดันโลหิตสูงกับโรคเบาหวาน ในปี 2567 พบร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ขนาด 12.08 พบร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานจากการคัดกรอง ขนาด 1.88 ซึ่งโรคนี้มักพบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคคือการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้สัดส่วน ชอบรับประทานอาหาร รสหวาน มัน เค็ม และขาดการออกกำลังกาย รวมถึงความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น การนำผู้ที่มีภาวะเสี่ยงดังกล่าวจากการคัดกรองของชุมชนเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในรูปแบบของคลินิก DPAC ในสถานบริการสาธารณสุขนั้น โรงพยาบาลพัทลุงและศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 ศูนย์ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง       ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลพัทลุงและเทศบาลเมืองพัทลุง จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง โดยการให้บริการกลุ่มสงสัยป่วยในชุมชนเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานบริการ เพื่อให้ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้ รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายในชุมชนป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มสงสัยป่วย มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และลดภาวะเเทรกซ้อนได้

กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับพฤติกรรม ด้านอาหาร อารมณ์ และออกกำลังกายดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีค่าน้ำตาล ค่าความดัน BMI รอบเอวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 30

150.00 45.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center (ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน)

กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อคลินิก Wellness Center อย่างน้อย ร้อยละ 90

30.00 27.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100

กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,250.00 3 26,250.00 0.00
2 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรอง 0 16,350.00 16,350.00 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 1 (ช่วงระยะเวลา 1 เดือน) 0 4,950.00 4,950.00 0.00
1 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 2 (ช่วงระยะเวลา 3 เดือน) 0 4,950.00 4,950.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 26,250.00 3 26,250.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น มีค่าระดับความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือดลดลง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และลดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2567 14:45 น.