กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพบ้านเกาะนางทอง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านเกาะนางทอง

1. นายใบอะดุลย์สวยงาม
2. นางขอลิฝ๊ะแหละกุบ
3. นายสอแหล๊ะฝาหล๊ะ
4. นายวิชาญแซ่ฮ่อ
5. นางมาริย๊ะเรืองทอง

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นกรอบแนวความคิด และทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุลยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ ประกอบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยในพื้นที่บ้านเกาะนางทอง
เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรด้านการเกษตรและพืชสมุนไพรที่สำคัญพอสมควร ซึ่งประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้มีการนำสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้นในการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์หรือนำมาแปรรูปให้เป็นสารสกัดมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต เช่น เครื่องสำอาง ยาสมุนไพรประเภทสูดดม พิมเสนน้ำ ยาหม่อง ยาดม น้ำมันเหลือง ประเภทผลิตภัณฑ์กันยุงหรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ให้มีสรรพคุณและคุณสมบัติที่ดีตามต้องการและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำพืชสมุนไพรในพื้นที่ที่สามารถนำมาเป็นสารสกัดได้ซึ่งจะส่งผลทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและยังสามารถนำความรู้ที่ได้มาต่อยอดเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและคนในครอบครัวได้อีกด้วย ดังนั้น ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านเกาะนางทอง จึงจัดทำโครงการสมุนไพร ใส่ใจสุขภาพบ้านเกาะนางทอง ประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้จักการรักษาสุขภาพโดยการใช้สมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองได้

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้จักใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตระหนักถึงประโยชน์ของสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้ถึงประโยชน์ของสมุนไพร และมีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน ,ชุมชน เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อบำรุงสุขภาพได้ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้และเกิดทักษะในการแปรรูปสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยจากสารเคมี

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีผลิตภัณฑ์ยาดม ยาหม่องสมุนไพร ไว้ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของตนเองได้  ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 42
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/09/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 22 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 22 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,520 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 42 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร * 2.5 เมตร เป็นเงิน 450 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 6,870 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6870.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสาธิตวิธีการทำพิมเสนน้ำ และการทำยาสมุนไพรสำหรับทาแก้ปวดเมื่อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตวิธีการทำพิมเสนน้ำ และการทำยาสมุนไพรสำหรับทาแก้ปวดเมื่อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ (วัตถุดิบ/วัสดุฝึกอบรม)
    1.ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกปฏิบัติ 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 2.ค่าขวดพร้อมฝาปิดเกรียว ขนาด 40 กรัม จำนวน 79 ขวด ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 790 บาท 3.ค่าสมุนไพรสำหรับทำยาดม จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท
    1 ชุด ประกอบด้วย
    • โกฐหัวบัว 100 กรัม   - พริกไทยดำ 100 กรัม
    • การพลู 100 กรัม      - การบูร 100 กรัม
    • ดอกจันทร์ 100 กรัม  - เมนทอล 200 กรัม
    • กระวาน 100 กรัม     - พิมเสน 100 กรัม
  1. ค่าสมุนไพรสำหรับทำยาหม่อง จำนวน 3 ชุด ๆละ 480 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท 1 ชุด ประกอบด้วย
    • วาสลีน 100 กรัม      - พาราฟิน 35 กรัม
    • เมนทอล 50 กรัม      - การบูร 20 กรัม
    • พิมเสน 20 กรัม        - น้ำมันแก้ว 60 มล.
    • น้ำมันยูคาลิปตัส 20 มล.
    • น้ำมันระกำ 30 มล.    - น้ำมันไพล 60 มล.
    • น้ำมันเสลดพังพอน 60 มล.
    • น้ำมันตะไคร้ 15 มล. รวมเป็นเงินทั้งหมด 3,130 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3130.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้ถึงประโยชน์ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมากขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
3. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้อื่นได้
4. ประชาชนในพื้นที่นำพืชสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น


>