สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพบ้านเกาะนางทอง ปี 2567
ชื่อโครงการ | สมุนไพร ใส่ใจสุขภาพบ้านเกาะนางทอง ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L3333-02-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านเกาะนางทอง |
วันที่อนุมัติ | 16 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 กันยายน 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายใบอดุลย์ สวยงาม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายกำพล เศรษฐสุข |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 42 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นกรอบแนวความคิด และทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุลยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ ประกอบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยในพื้นที่บ้านเกาะนางทอง
เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรด้านการเกษตรและพืชสมุนไพรที่สำคัญพอสมควร ซึ่งประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้มีการนำสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้นในการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์หรือนำมาแปรรูปให้เป็นสารสกัดมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต เช่น เครื่องสำอาง ยาสมุนไพรประเภทสูดดม พิมเสนน้ำ ยาหม่อง ยาดม น้ำมันเหลือง ประเภทผลิตภัณฑ์กันยุงหรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ให้มีสรรพคุณและคุณสมบัติที่ดีตามต้องการและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำพืชสมุนไพรในพื้นที่ที่สามารถนำมาเป็นสารสกัดได้ซึ่งจะส่งผลทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและยังสามารถนำความรู้ที่ได้มาต่อยอดเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและคนในครอบครัวได้อีกด้วย ดังนั้น ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านเกาะนางทอง จึงจัดทำโครงการสมุนไพร ใส่ใจสุขภาพบ้านเกาะนางทอง ประจำปี 2567 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้จักการรักษาสุขภาพโดยการใช้สมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้จักใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตระหนักถึงประโยชน์ของสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้ถึงประโยชน์ของสมุนไพร และมีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน ,ชุมชน เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อบำรุงสุขภาพได้ ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้และเกิดทักษะในการแปรรูปสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยจากสารเคมี ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีผลิตภัณฑ์ยาดม ยาหม่องสมุนไพร ไว้ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของตนเองได้ ร้อยละ 90 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 106 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | |
20 ก.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 22 คน | 22 | 0.00 | - | ||
20 ก.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน | 42 | 5,970.00 | - | ||
20 ก.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมสาธิตวิธีการทำพิมเสนน้ำ และการทำยาสมุนไพรสำหรับทาแก้ปวดเมื่อย | 42 | 4,030.00 | - | ||
20 ก.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 0.00 | - |
- ผู้เข้าร่วมโครงการฯ รู้ถึงประโยชน์ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมากขึ้น
- ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
- ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้อื่นได้
- ประชาชนในพื้นที่นำพืชสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2567 14:43 น.