กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการ ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ
กลุ่มคน
1. นายกัมพล ถิ่นทะเล

2. นายสะมะแอ็น ทุ่มมาลี

3. นายวิเชียร หลีหมัน

4. นางสาวถิราภรณ์เบ็ญขุนทด

5. นายอรัญ หลีหมันสา
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดแหล่งอาหารและอนุบาลสัตว์น้ำ มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการประมง เปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชนมีสิทธิ์ มีเสียง และมีอำนาจในการบริหารจัดการฐานทรัพยากร เป็นแหล่งทำมาหากิน สร้างรายได้ สร้างความกินดีอยู่ดีให้กับคนในพื้นที่ และที่สำคัญผู้บริโภคอาหารทะเลจากพวกปลา กุ้ง หอย หมึก ปู ก็จะมีแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านในพื้นที่มีการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทันสมัย ใช้เครื่องมือเฉพาะอย่าง เช่น อวนกุ้ง อวนปลาทู อวนปู อวนปลาทราย ลอบหมึก ลอบปู เป็นต้น ทำให้ทรัพยากรยังคงอุดมสมบูรณ์คนในชุมชมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเลี้ยงดูครอบครับเพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างมีความสุขได้ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและหันมาประกอบอาชีพประมงเพิ่มมากเนื่องจากสถาณการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีการปรับตัว โดยมีการทำประมงแบบหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ส่งผลให้ ทรัพยากรประมงลดลง เกิดจากการขยายตัวของการทำประมงที่จับสัตว์น้ำจนเกินกำลังผลิตของธรรมชาติและการทำประมงฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเครื่องมืออวนลากและอวนรุน ได้ลักลอบเข้ามาทำการประมง ทำลายระบบนิเวศบนพื้นทะเลซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทางทะเลอยู่แล้วแต่ยังคงไม่เพียงพอจึงต้องมีการทำเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างบ้านปลา (การทำซั้งกอ) และการปลูกหญ้าทะเล โดยมีการทำซั้งกอหรือการทำบ้านปลาหรือปะการังเทียมพื้นบ้าน เป็นเครื่องมือที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต โดยมีไว้เพื่อความสะดวกในการจับ หรือทำการประมง โดยการนําซั้งไปทิ้งไว้ในทะเล นอกจากนี้ซังกอ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อกิจกรรมการตกปลา ซั้งกอสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ซั้งกอไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ทางตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ทางอ้อมด้วย คือป้องกันการทำการประมงของเรือขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย เมื่อ พ.ศ.2561 – พ.ศ. 2562 ทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวางซั้งกอหรือสร้างบ้านให้ปลา ผลของการดำเนินกิจกรรมในครั้งนั้น ได้ส่งผลประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้กล้ามเนื้อของร่างกายในการสร้างซั้งกอ เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพราะการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์เป็นการช่วยเสริมร่างกายให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ได้มีการเก็บข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงหลังการวางซั้งกอ พบว่า สัตว์น้ำในบริเวณซั้งกอ มีเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาสักหลา ปลาน้ำดอกไม้ ปลาหลังเขียว ปลาหางแข็ง ปลาสีเสียด และปลาอั้งจ้อ ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำสามารถจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด โดยใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้นำสัตว์น้ำที่ที่จับได้ไปจำหน่ายในชุมชน อีกทั้งคนในครอบครัวได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยที่จับได้บริเวณ ซั้งกอ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้ชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งพื้นที่อ่าวปากบาราอย่างมีส่วนร่วมเพื่อความรักษาความมั่นคงทางอาหารของโลก และสามารถรักษาทรัพยากรชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานสืบไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปากบาราโดยการสร้างบ้านปลาวางซั้งอ
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ มีร่างกายที่แข็งแรง 2. ปริมาณความหนาแน่นของบ้านปลาเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดและอนุบาลสัตว์สัตว์น้ำ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อแสดงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 100.00
  • 2. เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีการปรับเปลี่ยนสุขภาวะชุมชนโดยการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากการสร้างบ้านปลาวางซั้งกอ
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดเป็นต้นแบบแนวทางการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำที่อ้างอิงในเชิงรูปธรรมได้และการปรับเปลี่ยนสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีกิจกรรมทางกาย การบริหารร่างกายจากการสร้างบ้านปลาวางซั้งกอ
    ตัวชี้วัด : 1.ชาวประมงพื้นบ้านได้มีกิจกรรมทางกาย โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์วางซั้ง ได้สร้างร่างกายให้แข็งแรง
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมคณะทำงานโครงการ(3 ครั้ง)
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    ประชุมหารือคณะทำงาน ทุกๆ 3 เดือน เพื่อวางแผนกิจกรรมและสรุปผลการทำกิจกรรม

    วิธีดำเนินงาน

    1.ปรึกษาคณะทำงานสมาคมฯ

    2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย

    3.จัดกิจกรรมตามกำหนดการที่ได้กำหนดไว้ แลกเปลี่ยนผลการดำเนินกิจกรรม

    4.บันทึกกิจกรรมและสรุปการประชุม

    รายละเอียดงบประมาณ

    ค่าอาหารว่าง 15 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 3 ครั้ง = 3,150 บาท

    งบประมาณ 3,150.00 บาท
  • 2. เวทีส่งเสริมการฟื้นฟู ทรัพยากร สู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    เวทีเปิดโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงคของการจัดทำโครงการ กิจกรรมที่จะดำเนินภายใต้โครงการพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรเพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลในพื้นที่ตำบลปากน้ำ

    วิธีการดำเนินงาน

    1.ประสานงานชาวประมงพื้นบ้านและกลุ่มเป้ามาย หน่วยงานในพื้นที่

    2.จัดเวทีให้ความรู้สร้างความเข้าใจการฟื้นฟูทรัพยากรสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ

    3.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    3.บันทึกการประชุม

    4.สรุปการประชุม

    รายละเอียดงบประมาณ

    ค่าอาหารว่าง 30 คน x 35 บาท x 1 มื้อ = 1,050

    กำหนดการ

    14.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน

    14.30 น.นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ

    15.00 น.ให้ความรู้การจัดการทรัพยากรหน้าบ้าน เพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลในพื้นที่ตำบลปากน้ำ" โดย นายวินัยนุ้ยไฉน กำนันตำบลปากน้ำ

    16.00 น. แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ปิดเวที

    งบประมาณ 1,050.00 บาท
  • 3. ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา (กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ร่วมเตรียมอุปกรณ์ ถักทางมะพร้าว ตัดเชือก และหล่อปูน รวมไปถึงการขนของขึ้นเรือ )
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.ประสานงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน บ้านปากน้ำ

    2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างบ้านปลา (ทำซั้งกอ)

    3.ร่วมปฏิบัติการสร้างบ้านปลา

    รายละเอียดงบประมาณ

    ถัง ( ขนาด 40 ลิตร )80 ลูก x 200 บาท= 16,000 บาท

    ค่าทางมะพร้าว จำนวน1,600ทาง x 15 บาท = 24,000 บาท

    ค่าเชือก 12มิลลิเมตร ( 170 บาท x 80 ต้น)= 13,600บาท

    ค่าเชือกขนาด 4 มิลลิเมตร(15 บาท x 80 ต้น) =1,200 บาท

    ค่าเรือ จำนวน 5 ลำ x3,000 บาท= 15,000 บาท

    ลูกถ่วง จำนวน 80 ลูก x 250 บาท= 20,000 บาท

    ค่าอาหารเที่ยง 40 คน x 100 บาท = 4,000 บาท(จัดอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ประกอบด้วย แกงส้มปลา ปลาทอด ผัดผัก น้ำพริก ผักสด)

    ค่าอาหารว่าง 40คน x 35 บาท x 2 ครั้ง = 2,800 บาท

    ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม = 300 บาท

    กำหนดการ รายละเอียดกิจกรรม

    วันที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย มาเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับทำบ้านปลา เช่น ทางมะพร้าว ลูกถ่วง เชือก ถังน้ำ มาขนไว้บริเวณ ท่าเทียบเรืออ่าวนุ่น

    วันที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ขนวัสดุอุปกรณ์ลงเรือที่ได้เตรียมไว้ จำนวน 5 ลำ แต่ละลำ จะประกอบด้วยทางมะพร้าวลูกถ่วง เชือก ถังน้ำ และคนทำงาน

    จะใช้เรือตั้งแต่07.00 จนถึง 15.00 น. เพื่อนำอุปกรณ์ไปทำบ้านปลาบริเวณโป๊ะอินโด

    รายละเอียดการใช้เรือหัวโทง

    เรือ 1 ลำ จะใช้บรรทุกวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้

    1.ทางมะพร้าว 320ทาง

    2.ลูกถ่วง น้ำหนัก 100 กิโลกรัม16 ลูก

    3.เชือก

    4.ถังน้ำ 16 ลูก

    5.แรงงาน / คนทำงาน 5 คน

    งบประมาณ 96,900.00 บาท
  • 4. สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนในตำบลปากน้ำ ( การทำธนาคารปูม้าและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ )
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    กิจกรรมย่อยที่ 1

    1.ประสานงานผู้เข้าร่วม เช่น โรงเรียนโอบอ้อม โรงเรียนบ้านตะโละใส ศูนย์วิจัยฯอ่าวนุ่น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา สมาคมรักษ์ทะเลไทย สำนักงานประมงอำเภอละงู หน่วยตรวจเรือใบไม้เขียว องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
    สมาชิกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ มูลนิธิอันดามัน

    2.ทบทวน บันทึกความเข้าใจการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซั้งกอ (MOU)

    3.ออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในบริเวรซั้งกอ หรือ ธรรมนูญซั้งกอตำบลปากน้ำ

    กิจกรรมย่อยที่ 2

    1.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ พันธุ์สัตว์น้ำ พันธุ์ปูม้า

    2.ให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ปูม้าแก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลปากน้ำ

    3.ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

    รายละเอียดงบประมาณ

    ค่าอาหารหลัก 50 คน x 100 บาท x 1 ครั้ง = 5,000 บาท

    ค่าอาหารว่าง 50 คน x 35 บาท x 1 ครั้ง= 1,750 บาท

    ค่าสถานที่ (ศาลากลางน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา) = 1,500 บาท

    กำหนดการ

    08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม

    09.30 น.ประชุมทบทวน MOU และออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์บริเวณซั้งกอ

    11.30 น.ให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ปูม้าแก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลปากน้ำปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะบริเวณชายหาดอ่าวนุ่น

    12.00 น.รับประทานอาหารเที่ยง

    งบประมาณ 8,250.00 บาท
  • 5. กิจกรรมสรุปการสร้างบ้านปลาและการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    กิจกรรมย่อยที่ 1 การเก็บข้อมูลผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซั้งกอ (ก่อนและหลังโครงการ) เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินโครงการประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้

    -เป็นชาวประมงพื้นบ้านหมู่บ้านใหน

    -ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการทำประมงแต่ละครั้ง

    -จับสัตว์น้ำอะไรบ้าง

    -รายได้จากการทำประมงบริเวณซั้งกอ

    -การทำบ้านปลาส่งผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้างกับคนในพื้นที่

    กิจกรรมย่อยที่ 2

    สำรวจพื้นที่ใต้น้ำบริเวณบ้านปลา (ก่อนและหลังโครงการ) เพื่อเปรียบเทียบความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำและปะการังบริเวณซั้งกอ

    กิจกรรมย่อยที่ 3

    ประกาศกติกาการใช้ประโยชน์ในบริเวณซั้งกอ เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำได้รับรู้

    รายละเอียดงบประมาณ

    ค่าอาหารหลัก 5 คน x 100 บาท x 2 ครั้ง = 1,000 บาท(สำรวจใต้น้ำ ก่อนและหลังวางซั้ง)

    ค่าเรือ 1500 บาท x 2ครั้ง = 3,000 บาท (สำรวจใต้น้ำ ก่อนและหลังวางซั้ง)

    ค่าเช่าอุปกรณ์ดำน้ำ2,000 บาท x 2 ครั้ง = 4,000 บาท

    ค่าป้ายเหล็ก(กติกา) 1 แผ่นป้าย = 3,000 บาท

    งบประมาณ 11,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 21 ตุลาคม 2567 ถึง 22 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 120,350.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.ความยั่งยืนของโครงการมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ที่เป็นเจ้าของมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ในขณะเดียวกัน เป็นการดำเนินโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และมีกลไกคณะทำงานในการขับเคลื่อนที่เป็นระบบพร้อมทีมในการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย นอกจากนั้น ชุมชนมียุทธศาสตร์เป้าหมายที่ชัดเจนในการขยายผลการทำกิจกรรมให้เกิดเต็มพื้นที่ชุมชน มีพื้นที่ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลาจังหวัดสตูล เป็นเครือข่ายทำงานต้องการฟื้นทะเลสตูล ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่พอเพียงและเกิดความมั่นคงทางด้านอาชีพประมง ด้วยการสร้างการยอมรับเชื่อมนโยบายสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ที่ต้องการให้จังหวัดสตูลเป็นเมืองท่องเที่ยววิถีประมงพื้นบ้านและให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2.การดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ จะมีการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันให้สาธารณะได้รับทราบและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า การดำเนินโครงการดังกล่าวมีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นในการร่วมจัดการทรัพยากร เพื่อหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนให้เกิดความต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์แบบธรรมชาติคือเมื่อชุมชนทำแล้วได้ผลเกิดรูปธรรมที่ชัดเจน สามารถฟื้นทะเลได้จริง จะมีชุมชนใกล้เคียงสนใจที่จะทำในแบบดังกล่าว กรณี เช่น ตำบลสาคร เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาเรื่องปากท้องเห็นผลที่ชัดเจน โดยมีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ เช่น การบอกปากต่อปากของชาวประมงด้วยกัน การทำเอกสารเผยแพร่ หรือการจัดทำสรุปบทเรียนกรทำงานในแต่ละพื้นที่ หรืองานข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นรูปแบบงานวิจัยชุมชน ฯลฯ

3.เกิดกติกาชุมชนในเรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ตำบลปากน้ำมีการบริหารจัดการพื้นที่เขตคุ้มครองและเขตอนุรักษ์โดยการจัดการโดยชุมชน ทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณบ้านปลามีการเปลี่ยนแปลง มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำบ้านปลา

4.จะมีการผลักดันหลักสูตรการจัดการทรัพยากรหรือการทำธนาคารปูม้าระหว่างสมาคมชางประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำและโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ เพื่อเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนหรือเยาวชน ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้โดยการปฎิบัติจริงในโรงเรียน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 120,350.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................