กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ

1. นายกัมพล ถิ่นทะเล

2. นายสะมะแอ็น ทุ่มมาลี

3. นายวิเชียร หลีหมัน

4. นางสาวถิราภรณ์เบ็ญขุนทด

5. นายอรัญ หลีหมันสา

ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์

 

80.00
2 ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและหันมาประกอบอาชีพประมงเพิ่มมากเนื่องจากสถาณการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีการปรับตัว โดยมีการทำประมงแบบหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ส่งผลให้ ทรัพยา

 

80.00

หลักการและเหตุผล
อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดแหล่งอาหารและอนุบาลสัตว์น้ำ มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการประมง เปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชนมีสิทธิ์ มีเสียง และมีอำนาจในการบริหารจัดการฐานทรัพยากร เป็นแหล่งทำมาหากิน สร้างรายได้ สร้างความกินดีอยู่ดีให้กับคนในพื้นที่ และที่สำคัญผู้บริโภคอาหารทะเลจากพวกปลา กุ้ง หอย หมึก ปู ก็จะมีแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านในพื้นที่มีการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทันสมัย ใช้เครื่องมือเฉพาะอย่าง เช่น อวนกุ้ง อวนปลาทู อวนปู อวนปลาทราย ลอบหมึก ลอบปู เป็นต้น ทำให้ทรัพยากรยังคงอุดมสมบูรณ์คนในชุมชมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเลี้ยงดูครอบครับเพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างมีความสุขได้ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและหันมาประกอบอาชีพประมงเพิ่มมากเนื่องจากสถาณการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีการปรับตัว โดยมีการทำประมงแบบหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ส่งผลให้ ทรัพยากรประมงลดลง เกิดจากการขยายตัวของการทำประมงที่จับสัตว์น้ำจนเกินกำลังผลิตของธรรมชาติและการทำประมงฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเครื่องมืออวนลากและอวนรุน ได้ลักลอบเข้ามาทำการประมง ทำลายระบบนิเวศบนพื้นทะเลซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทางทะเลอยู่แล้วแต่ยังคงไม่เพียงพอจึงต้องมีการทำเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างบ้านปลา (การทำซั้งกอ) และการปลูกหญ้าทะเล โดยมีการทำซั้งกอหรือการทำบ้านปลาหรือปะการังเทียมพื้นบ้าน เป็นเครื่องมือที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต โดยมีไว้เพื่อความสะดวกในการจับ หรือทำการประมง โดยการนําซั้งไปทิ้งไว้ในทะเล นอกจากนี้ซังกอ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อกิจกรรมการตกปลา ซั้งกอสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ซั้งกอไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ทางตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ทางอ้อมด้วย คือป้องกันการทำการประมงของเรือขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย
เมื่อ พ.ศ.2561 – พ.ศ. 2562 ทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวางซั้งกอหรือสร้างบ้านให้ปลา ผลของการดำเนินกิจกรรมในครั้งนั้น ได้ส่งผลประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้กล้ามเนื้อของร่างกายในการสร้างซั้งกอ เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพราะการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์เป็นการช่วยเสริมร่างกายให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ได้มีการเก็บข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงหลังการวางซั้งกอ พบว่า สัตว์น้ำในบริเวณซั้งกอ มีเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาสักหลา ปลาน้ำดอกไม้ ปลาหลังเขียว ปลาหางแข็ง ปลาสีเสียด และปลาอั้งจ้อ ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำสามารถจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด โดยใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้นำสัตว์น้ำที่ที่จับได้ไปจำหน่ายในชุมชน อีกทั้งคนในครอบครัวได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยที่จับได้บริเวณ ซั้งกอ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้ชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งพื้นที่อ่าวปากบาราอย่างมีส่วนร่วมเพื่อความรักษาความมั่นคงทางอาหารของโลก และสามารถรักษาทรัพยากรชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปากบาราโดยการสร้างบ้านปลาวางซั้งอ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ มีร่างกายที่แข็งแรง
  2. ปริมาณความหนาแน่นของบ้านปลาเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดและอนุบาลสัตว์สัตว์น้ำ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อแสดงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล
80.00 100.00
2 เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีการปรับเปลี่ยนสุขภาวะชุมชนโดยการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากการสร้างบ้านปลาวางซั้งกอ
  1. เกิดเป็นต้นแบบแนวทางการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำที่อ้างอิงในเชิงรูปธรรมได้และการปรับเปลี่ยนสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ
80.00 100.00
3 เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีกิจกรรมทางกาย การบริหารร่างกายจากการสร้างบ้านปลาวางซั้งกอ

1.ชาวประมงพื้นบ้านได้มีกิจกรรมทางกาย โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์วางซั้ง ได้สร้างร่างกายให้แข็งแรง

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน 30
ชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/10/2024

กำหนดเสร็จ 22/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ(3 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ(3 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

ประชุมหารือคณะทำงาน ทุกๆ 3 เดือน เพื่อวางแผนกิจกรรมและสรุปผลการทำกิจกรรม

วิธีดำเนินงาน

1.ปรึกษาคณะทำงานสมาคมฯ

2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย

3.จัดกิจกรรมตามกำหนดการที่ได้กำหนดไว้ แลกเปลี่ยนผลการดำเนินกิจกรรม

4.บันทึกกิจกรรมและสรุปการประชุม

รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารว่าง 15 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 3 ครั้ง = 3,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2567 ถึง 22 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงาน ในการจัดและบริหารโครงการให้เป้นไปตามแผนที่วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีส่งเสริมการฟื้นฟู ทรัพยากร สู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ

ชื่อกิจกรรม
เวทีส่งเสริมการฟื้นฟู ทรัพยากร สู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

เวทีเปิดโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงคของการจัดทำโครงการ กิจกรรมที่จะดำเนินภายใต้โครงการพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรเพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลในพื้นที่ตำบลปากน้ำ

วิธีการดำเนินงาน

1.ประสานงานชาวประมงพื้นบ้านและกลุ่มเป้ามาย หน่วยงานในพื้นที่

2.จัดเวทีให้ความรู้สร้างความเข้าใจการฟื้นฟูทรัพยากรสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ

3.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

3.บันทึกการประชุม

4.สรุปการประชุม

รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารว่าง 30 คน x 35 บาท x 1 มื้อ = 1,050

กำหนดการ

14.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน

14.30 น.นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ

15.00 น.ให้ความรู้การจัดการทรัพยากรหน้าบ้าน เพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลในพื้นที่ตำบลปากน้ำ" โดย นายวินัยนุ้ยไฉน กำนันตำบลปากน้ำ

16.00 น. แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ปิดเวที

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2567 ถึง 20 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำได้ความรู้เรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรให้มีความยั่งยืน
2.ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาวะที่ดี 3.ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา (กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ร่วมเตรียมอุปกรณ์ ถักทางมะพร้าว ตัดเชือก และหล่อปูน รวมไปถึงการขนของขึ้นเรือ )

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา (กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ร่วมเตรียมอุปกรณ์ ถักทางมะพร้าว ตัดเชือก และหล่อปูน รวมไปถึงการขนของขึ้นเรือ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ประสานงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน บ้านปากน้ำ

2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างบ้านปลา (ทำซั้งกอ)

3.ร่วมปฏิบัติการสร้างบ้านปลา

รายละเอียดงบประมาณ

ถัง ( ขนาด 40 ลิตร )80 ลูก x 200 บาท= 16,000 บาท

ค่าทางมะพร้าว จำนวน1,600ทาง x 15 บาท = 24,000 บาท

ค่าเชือก 12มิลลิเมตร ( 170 บาท x 80 ต้น)= 13,600บาท

ค่าเชือกขนาด 4 มิลลิเมตร(15 บาท x 80 ต้น) =1,200 บาท

ค่าเรือ จำนวน 5 ลำ x3,000 บาท= 15,000 บาท

ลูกถ่วง จำนวน 80 ลูก x 250 บาท= 20,000 บาท

ค่าอาหารเที่ยง 40 คน x 100 บาท = 4,000 บาท(จัดอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ประกอบด้วย แกงส้มปลา ปลาทอด ผัดผัก น้ำพริก ผักสด)

ค่าอาหารว่าง 40คน x 35 บาท x 2 ครั้ง = 2,800 บาท

ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม = 300 บาท

กำหนดการ รายละเอียดกิจกรรม

วันที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย มาเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับทำบ้านปลา เช่น ทางมะพร้าว ลูกถ่วง เชือก ถังน้ำ มาขนไว้บริเวณ ท่าเทียบเรืออ่าวนุ่น

วันที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ขนวัสดุอุปกรณ์ลงเรือที่ได้เตรียมไว้ จำนวน 5 ลำ แต่ละลำ จะประกอบด้วยทางมะพร้าวลูกถ่วง เชือก ถังน้ำ และคนทำงาน

จะใช้เรือตั้งแต่07.00 จนถึง 15.00 น. เพื่อนำอุปกรณ์ไปทำบ้านปลาบริเวณโป๊ะอินโด

รายละเอียดการใช้เรือหัวโทง

เรือ 1 ลำ จะใช้บรรทุกวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้

1.ทางมะพร้าว 320ทาง

2.ลูกถ่วง น้ำหนัก 100 กิโลกรัม16 ลูก

3.เชือก

4.ถังน้ำ 16 ลูก

5.แรงงาน / คนทำงาน 5 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ชนิดสัตว์น้ำบริเวณบ้านปลาเพิ่มขึ้น 2.จำนวนและชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยในแต่ละครั้งมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่น้อยกว่า 100,000 ตัว 3.เพิ่มจำนวนบ้านปลาในเขตพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 80 ต้น 4.ชาวประมงพื้นบ้านได้มีการบริหารร่างกายโดยการสร้างบ้านปลา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
96900.00

กิจกรรมที่ 4 สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนในตำบลปากน้ำ ( การทำธนาคารปูม้าและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ )

ชื่อกิจกรรม
สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนในตำบลปากน้ำ ( การทำธนาคารปูม้าและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรมย่อยที่ 1

1.ประสานงานผู้เข้าร่วม เช่น โรงเรียนโอบอ้อม โรงเรียนบ้านตะโละใส ศูนย์วิจัยฯอ่าวนุ่น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา สมาคมรักษ์ทะเลไทย สำนักงานประมงอำเภอละงู หน่วยตรวจเรือใบไม้เขียว องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
สมาชิกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ มูลนิธิอันดามัน

2.ทบทวน บันทึกความเข้าใจการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซั้งกอ (MOU)

3.ออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในบริเวรซั้งกอ หรือ ธรรมนูญซั้งกอตำบลปากน้ำ

กิจกรรมย่อยที่ 2

1.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ พันธุ์สัตว์น้ำ พันธุ์ปูม้า

2.ให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ปูม้าแก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลปากน้ำ

3.ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารหลัก 50 คน x 100 บาท x 1 ครั้ง = 5,000 บาท

ค่าอาหารว่าง 50 คน x 35 บาท x 1 ครั้ง= 1,750 บาท

ค่าสถานที่ (ศาลากลางน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา) = 1,500 บาท

กำหนดการ

08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม

09.30 น.ประชุมทบทวน MOU และออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์บริเวณซั้งกอ

11.30 น.ให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ปูม้าแก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลปากน้ำปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะบริเวณชายหาดอ่าวนุ่น

12.00 น.รับประทานอาหารเที่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้สร้างจิดสำนึกแก่เยาวชนในพื้นที่ตำบลปากน้ำ ในเรื่องทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา
2.ได้สร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนแก่นักเรียนในเขตตำบลปากน้ำ 3.เกิดร่างกติกาการใช้ประโยชน์ในบริเวณซั้งกอ เพื่อยกระดับเป็นธรรมนูญซั้งกอตำบลปากน้ำต่อไป 4.ได้ส่งเสริมให้สถานศึกษาในพื้นที่ตำบลปากน้ำได้นำแนวคิดการจัดการทรัพยากร การทำธนาคารปูม้า บรรจุหลักสูตรการจัดการธนาคารปูม้าในโรงเรียน 5.ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่รู้จักธนาคารปูม้าบ้านตะโละใสเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8250.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสรุปการสร้างบ้านปลาและการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปการสร้างบ้านปลาและการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรมย่อยที่ 1 การเก็บข้อมูลผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซั้งกอ (ก่อนและหลังโครงการ) เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินโครงการประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้

-เป็นชาวประมงพื้นบ้านหมู่บ้านใหน

-ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการทำประมงแต่ละครั้ง

-จับสัตว์น้ำอะไรบ้าง

-รายได้จากการทำประมงบริเวณซั้งกอ

-การทำบ้านปลาส่งผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้างกับคนในพื้นที่

กิจกรรมย่อยที่ 2

สำรวจพื้นที่ใต้น้ำบริเวณบ้านปลา (ก่อนและหลังโครงการ) เพื่อเปรียบเทียบความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำและปะการังบริเวณซั้งกอ

กิจกรรมย่อยที่ 3

ประกาศกติกาการใช้ประโยชน์ในบริเวณซั้งกอ เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำได้รับรู้

รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารหลัก 5 คน x 100 บาท x 2 ครั้ง = 1,000 บาท(สำรวจใต้น้ำ ก่อนและหลังวางซั้ง)

ค่าเรือ 1500 บาท x 2ครั้ง = 3,000 บาท (สำรวจใต้น้ำ ก่อนและหลังวางซั้ง)

ค่าเช่าอุปกรณ์ดำน้ำ2,000 บาท x 2 ครั้ง = 4,000 บาท

ค่าป้ายเหล็ก(กติกา) 1 แผ่นป้าย = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาล 2.รายได้จากการขายสัตวืน้ำที่จับได้บริเวณซั้งกอ
3.จำนวนรายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น 4.จำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่ใช้ประโยชน์ในบริเวณซั้ง
5.ได้วิดีโอความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้น้ำบริเวณซั้งกอ 1 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 120,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ความยั่งยืนของโครงการมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ที่เป็นเจ้าของมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ในขณะเดียวกัน เป็นการดำเนินโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และมีกลไกคณะทำงานในการขับเคลื่อนที่เป็นระบบพร้อมทีมในการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย นอกจากนั้น ชุมชนมียุทธศาสตร์เป้าหมายที่ชัดเจนในการขยายผลการทำกิจกรรมให้เกิดเต็มพื้นที่ชุมชน มีพื้นที่ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลาจังหวัดสตูล เป็นเครือข่ายทำงานต้องการฟื้นทะเลสตูล ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่พอเพียงและเกิดความมั่นคงทางด้านอาชีพประมง ด้วยการสร้างการยอมรับเชื่อมนโยบายสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ที่ต้องการให้จังหวัดสตูลเป็นเมืองท่องเที่ยววิถีประมงพื้นบ้านและให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2.การดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ จะมีการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันให้สาธารณะได้รับทราบและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
การดำเนินโครงการดังกล่าวมีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นในการร่วมจัดการทรัพยากร เพื่อหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนให้เกิดความต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์แบบธรรมชาติคือเมื่อชุมชนทำแล้วได้ผลเกิดรูปธรรมที่ชัดเจน สามารถฟื้นทะเลได้จริง จะมีชุมชนใกล้เคียงสนใจที่จะทำในแบบดังกล่าว กรณี เช่น ตำบลสาคร เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาเรื่องปากท้องเห็นผลที่ชัดเจน โดยมีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ เช่น การบอกปากต่อปากของชาวประมงด้วยกัน การทำเอกสารเผยแพร่ หรือการจัดทำสรุปบทเรียนกรทำงานในแต่ละพื้นที่ หรืองานข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นรูปแบบงานวิจัยชุมชน ฯลฯ

3.เกิดกติกาชุมชนในเรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ตำบลปากน้ำมีการบริหารจัดการพื้นที่เขตคุ้มครองและเขตอนุรักษ์โดยการจัดการโดยชุมชน ทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณบ้านปลามีการเปลี่ยนแปลง มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำบ้านปลา

4.จะมีการผลักดันหลักสูตรการจัดการทรัพยากรหรือการทำธนาคารปูม้าระหว่างสมาคมชางประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำและโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ เพื่อเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนหรือเยาวชน ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้โดยการปฎิบัติจริงในโรงเรียน


>