โครงการ ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ
ชื่อโครงการ | โครงการ ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ |
รหัสโครงการ | 68-L5312-2-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 ตุลาคม 2567 - 22 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 22 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 120,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายกัมพล ถิ่นทะเล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอนัญญา เเสะหลี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ | 80.00 | ||
2 | ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและหันมาประกอบอาชีพประมงเพิ่มมากเนื่องจากสถาณการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีการปรับตัว โดยมีการทำประมงแบบหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ส่งผลให้ ทรัพยา | 80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดแหล่งอาหารและอนุบาลสัตว์น้ำ มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการประมง เปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชนมีสิทธิ์ มีเสียง และมีอำนาจในการบริหารจัดการฐานทรัพยากร เป็นแหล่งทำมาหากิน สร้างรายได้ สร้างความกินดีอยู่ดีให้กับคนในพื้นที่ และที่สำคัญผู้บริโภคอาหารทะเลจากพวกปลา กุ้ง หอย หมึก ปู ก็จะมีแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านในพื้นที่มีการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทันสมัย ใช้เครื่องมือเฉพาะอย่าง เช่น อวนกุ้ง อวนปลาทู อวนปู อวนปลาทราย ลอบหมึก ลอบปู เป็นต้น ทำให้ทรัพยากรยังคงอุดมสมบูรณ์คนในชุมชมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเลี้ยงดูครอบครับเพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างมีความสุขได้ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและหันมาประกอบอาชีพประมงเพิ่มมากเนื่องจากสถาณการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีการปรับตัว โดยมีการทำประมงแบบหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ส่งผลให้ ทรัพยากรประมงลดลง เกิดจากการขยายตัวของการทำประมงที่จับสัตว์น้ำจนเกินกำลังผลิตของธรรมชาติและการทำประมงฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเครื่องมืออวนลากและอวนรุน ได้ลักลอบเข้ามาทำการประมง ทำลายระบบนิเวศบนพื้นทะเลซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทางทะเลอยู่แล้วแต่ยังคงไม่เพียงพอจึงต้องมีการทำเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างบ้านปลา (การทำซั้งกอ) และการปลูกหญ้าทะเล โดยมีการทำซั้งกอหรือการทำบ้านปลาหรือปะการังเทียมพื้นบ้าน เป็นเครื่องมือที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต โดยมีไว้เพื่อความสะดวกในการจับ หรือทำการประมง โดยการนําซั้งไปทิ้งไว้ในทะเล นอกจากนี้ซังกอ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อกิจกรรมการตกปลา ซั้งกอสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ซั้งกอไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ทางตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ทางอ้อมด้วย คือป้องกันการทำการประมงของเรือขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย เมื่อ พ.ศ.2561 – พ.ศ. 2562 ทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวางซั้งกอหรือสร้างบ้านให้ปลา ผลของการดำเนินกิจกรรมในครั้งนั้น ได้ส่งผลประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้กล้ามเนื้อของร่างกายในการสร้างซั้งกอ เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพราะการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์เป็นการช่วยเสริมร่างกายให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ได้มีการเก็บข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงหลังการวางซั้งกอ พบว่า สัตว์น้ำในบริเวณซั้งกอ มีเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาสักหลา ปลาน้ำดอกไม้ ปลาหลังเขียว ปลาหางแข็ง ปลาสีเสียด และปลาอั้งจ้อ ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำสามารถจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด โดยใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้นำสัตว์น้ำที่ที่จับได้ไปจำหน่ายในชุมชน อีกทั้งคนในครอบครัวได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยที่จับได้บริเวณ ซั้งกอ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้ชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งพื้นที่อ่าวปากบาราอย่างมีส่วนร่วมเพื่อความรักษาความมั่นคงทางอาหารของโลก และสามารถรักษาทรัพยากรชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานสืบไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปากบาราโดยการสร้างบ้านปลาวางซั้งอ
|
80.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีการปรับเปลี่ยนสุขภาวะชุมชนโดยการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากการสร้างบ้านปลาวางซั้งกอ
|
80.00 | 100.00 |
3 | เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีกิจกรรมทางกาย การบริหารร่างกายจากการสร้างบ้านปลาวางซั้งกอ 1.ชาวประมงพื้นบ้านได้มีกิจกรรมทางกาย โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์วางซั้ง ได้สร้างร่างกายให้แข็งแรง |
80.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 120,350.00 | 0 | 0.00 | |
21 ต.ค. 67 - 22 ก.ย. 68 | ประชุมคณะทำงานโครงการ(3 ครั้ง) | 0 | 3,150.00 | - | ||
20 ธ.ค. 67 | เวทีส่งเสริมการฟื้นฟู ทรัพยากร สู่การปรับพฤติกรรมสุขภาวะชาวประมงพื้นบ้านในตำบลปากน้ำ | 0 | 1,050.00 | - | ||
15 - 16 ก.พ. 68 | ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา (กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ร่วมเตรียมอุปกรณ์ ถักทางมะพร้าว ตัดเชือก และหล่อปูน รวมไปถึงการขนของขึ้นเรือ ) | 0 | 96,900.00 | - | ||
16 พ.ค. 68 | สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนในตำบลปากน้ำ ( การทำธนาคารปูม้าและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ) | 0 | 8,250.00 | - | ||
29 ส.ค. 68 | กิจกรรมสรุปการสร้างบ้านปลาและการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง | 0 | 11,000.00 | - |
1.ความยั่งยืนของโครงการมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ที่เป็นเจ้าของมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ในขณะเดียวกัน เป็นการดำเนินโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และมีกลไกคณะทำงานในการขับเคลื่อนที่เป็นระบบพร้อมทีมในการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย นอกจากนั้น ชุมชนมียุทธศาสตร์เป้าหมายที่ชัดเจนในการขยายผลการทำกิจกรรมให้เกิดเต็มพื้นที่ชุมชน มีพื้นที่ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลาจังหวัดสตูล เป็นเครือข่ายทำงานต้องการฟื้นทะเลสตูล ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่พอเพียงและเกิดความมั่นคงทางด้านอาชีพประมง ด้วยการสร้างการยอมรับเชื่อมนโยบายสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ที่ต้องการให้จังหวัดสตูลเป็นเมืองท่องเที่ยววิถีประมงพื้นบ้านและให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2.การดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ จะมีการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันให้สาธารณะได้รับทราบและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า การดำเนินโครงการดังกล่าวมีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นในการร่วมจัดการทรัพยากร เพื่อหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนให้เกิดความต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์แบบธรรมชาติคือเมื่อชุมชนทำแล้วได้ผลเกิดรูปธรรมที่ชัดเจน สามารถฟื้นทะเลได้จริง จะมีชุมชนใกล้เคียงสนใจที่จะทำในแบบดังกล่าว กรณี เช่น ตำบลสาคร เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาเรื่องปากท้องเห็นผลที่ชัดเจน โดยมีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ เช่น การบอกปากต่อปากของชาวประมงด้วยกัน การทำเอกสารเผยแพร่ หรือการจัดทำสรุปบทเรียนกรทำงานในแต่ละพื้นที่ หรืองานข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นรูปแบบงานวิจัยชุมชน ฯลฯ
3.เกิดกติกาชุมชนในเรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ตำบลปากน้ำมีการบริหารจัดการพื้นที่เขตคุ้มครองและเขตอนุรักษ์โดยการจัดการโดยชุมชน ทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณบ้านปลามีการเปลี่ยนแปลง มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำบ้านปลา
4.จะมีการผลักดันหลักสูตรการจัดการทรัพยากรหรือการทำธนาคารปูม้าระหว่างสมาคมชางประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำและโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ เพื่อเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนหรือเยาวชน ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้โดยการปฎิบัติจริงในโรงเรียน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 00:00 น.