แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นายพิทักศิษย์ พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
นางสาวนัรกีส ยะปา เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โทร 083-7502735
โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลสู่บุคคลหรือจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ อาจเกิดจากเชื้อโรค นอกจากนี้สาเหตุของการเกิดโรคติดต่อสามารถแพร่กระจายได้ในระบบทางเดินหายใจ, การสัมผัสผิวหนัง, การรับประทานอาหาร, หรือผ่านทางการสัมผัสโดยตรง เช่น การจับมือ การใช้อากาศร่วมกัน หรือการสัมผัสร่างกาย เป็นต้น หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาดเมื่อมีการถ่ายทอดไปยังผู้อื่นแสดงว่ามีการะบาดของโรคนั้นขึ้นและจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัดและการป้องการที่ได้มาตรฐานเพื่อลดอัตราการป่วยตายและการแพร่กระจายของโรคที่เกิดขึ้น โรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ได้แก่ โรคหัด โรคมือ เท้า ปาก โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
โรคหัด (Measles) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ลักษณะอาการของโรค คือ ไข้ออกผื่น ไข้สูง ตาแดง มีจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม (Koplik's spots) และอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไอร่วมด้วย พบได้ทุกวัย และพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1 - 6 ปี โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ นอกจากนี้โรคหัดยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ และอาจจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
สถานการณ์โรคหัดในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 ตุลาคม 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 8,106 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 3,475 ราย เสียชีวิตจำนวน 7 รายจากการติดตามประวัติวัคซีนป้องกันโรคหัดพบว่าผู้เสียชีวิต 4 ราย ไม่เคยได้รับวัคซีน และ 2 ราย ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจประวัติการได้รับวัคซีน และผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้รับวัคซีน 1 เข็ม สถานการณ์โรคหัดในจังหวัดนราธิวาส ข้อมูลจากสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 1,259 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 951 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์โรคหัดในอำเภอสุไหงโก-ลก ข้อมูลจากสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 86 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 64 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต สถานการณ์โรคหัดในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ข้อมูลจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 53 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 25 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยเด็กเล็ก และพบการระบาดในหลายโรงเรียน โดยเฉพาะในระดับชั้นก่อนอนุบาลจนถึงประถมศึกษา และพบว่ามากกว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด
ดังนั้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยเด็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคหัดเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคในพื้นที
-
1. เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคติดต่อในเด็กเล็กตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
-
2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเด็กเล็ก (0-6ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 จำนวนผู้ป่วยโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเด็กเล็ก (0-6ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกลดลงจากเดิมขนาดปัญหา 35.00 เป้าหมาย 7.00
-
3. เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ครูผู้ดูแล และผู้ปกครองในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็กเล็กตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 100.00
- 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัด และโรคติดต่ออื่น ๆรายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย
1. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 41 คน
2. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน จำนวน 176 คน
3. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล จำนวน 44 คน
4. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์ จำนวน 105 คน
รวมทั้งสิ้น 366 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 4 ศูนย์ และคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- ประสานวิทยากร และหน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมเนื้อหาเอกสารการจัดอบรม และจัดซื้อวัสดุอุปกรณืที่ใช้ในการอบรม
- จัดทำป้ายโครงการ และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ แก่ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ได้ตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็ก และกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือที่ถูกต้อง
ดำเนินการจัดอบรม 4 รุ่น ดังนี้
- รุ่นที่ 1 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 41 คน
- รุ่นที่ 2 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน จำนวน 176 คน
- รุ่นที่ 3 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล จำนวน 44 คน
- รุ่นที่ 4 ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์ จำนวน 105 คน
กำหนดการ
13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียนและประเมินความรู้ก่อนการอบรม
13.30 - 15.30 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ การดูแลตนเองและผู้ป่วย วิธีการป้องกันโรค และสาธิตวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง
15.30 - 16.30 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการรับวัคซีนป้องกันโรคหัด และวัคซีนป้องกันโรคขั้นพื้นฐานในเด็กเล็ก
16.30 - 16.45 น. ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูล และประเมินความรู้หลังการอบรม
งบประมาณ
- ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชม. x 4 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 366 คน x 30 บาท เป็นเงิน 10,980 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม จำนวน 366 คน x 20 บาท เป็นเงิน 7,320 บาท
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,090 บาทงบประมาณ 26,590.00 บาท - 2. กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค และกิจกรรม Big Cleaning Day ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ ศูนย์ละ 30 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม 120 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือที่ถูกต้อง เป็นต้น
- กิจกรรมทำความสะอาดสถานที่ ของเล่น/ของใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 เดือน (รวมเป็นจำนวน 4 ครั้ง) เพื่อป้องกันการระบาดของโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดห้องเรียน และอุปกรณ์เครื่องใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมสบู่เหลวล้างมือ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค
10.00 - 12.00 น. กิจกรรม Big Cleaning Day ทำความสะอาดสถานที่ ของเล่น / ของใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครั้งที่ 1
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน x 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม เป็นเงิน 1,000 บาท
- น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด จำนวน 4 แกลลอน (ศพด.ละ 1 แกลลอน) x 750 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- สบู่เหลวล้างมือ จำนวน 20 ขวด (ศพด.ละ 5 ขวด) x 75 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นเงิน 1,000 บาทงบประมาณ 10,100.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
รวมงบประมาณโครงการ 36,690.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
- ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ครูผู้ดูแล และผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็ก
- ลดอัตราการป่วยด้วยโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................