2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและมีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ 5-14 ปี รองลงมา 15-24 ปี และอายุแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยเรียน การระบาดของโรคเกิดได้ทั้งปีโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคมของทุกปีจะพบผู้ป่วยจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มประชากรของยุงเป็นอย่างดี ยุงลายออกหากินในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่เด็กส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียน ถ้าโรงเรียนมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะทำให้การระบาดของโรคนี้เป็นไปอย่างกว้างขวาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีความตระหนักที่จะกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างได้ผล
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 97,366 ราย อัตราป่วย 146.99 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 81 ราย อัตราป่วย 0.08 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 1,825 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 224.78 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต รายข้อมูลอำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567 พ.ศ.2567 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 106 ราย อัตราป่วย 137.31 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลตำบลสุไหงโก-ลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 69 ราย อัตราป่วย 171.69 ต่อประชากรแสนคน โดยเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 39.81 ต่อประชากรแสนคน จากการลงสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่าร้อยละของภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index (CI)) เท่ากับ 7.03 อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของ ครู นักเรียน โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคไข้เลือดออก ก่อนฤดูการระบาดของโรค เพื่อรณรงค์ให้ครูและนักเรียนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และลดความเสี่ยงปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายกาาร
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีความตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
2. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเด็กนักเรียนในสถานศึกษาเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
3. ลดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียนให้น้อยลง