โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 36,890.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนัรกีส ยะปา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 400 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
49.00 | ||
2 | ร้อยละเด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แบบประเมินความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อน-หลังอบรม |
50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและมีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ 5-14 ปี รองลงมา 15-24 ปี และอายุแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยเรียน การระบาดของโรคเกิดได้ทั้งปีโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคมของทุกปีจะพบผู้ป่วยจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มประชากรของยุงเป็นอย่างดี ยุงลายออกหากินในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่เด็กส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียน ถ้าโรงเรียนมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะทำให้การระบาดของโรคนี้เป็นไปอย่างกว้างขวาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีความตระหนักที่จะกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างได้ผล สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 97,366 ราย อัตราป่วย 146.99 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 81 ราย อัตราป่วย 0.08 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 1,825 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 224.78 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต รายข้อมูลอำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567 พ.ศ.2567 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 106 ราย อัตราป่วย 137.31 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลตำบลสุไหงโก-ลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 69 ราย อัตราป่วย 171.69 ต่อประชากรแสนคน โดยเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 39.81 ต่อประชากรแสนคน จากการลงสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่าร้อยละของภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index (CI)) เท่ากับ 7.03 อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของ ครู นักเรียน โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคไข้เลือดออก ก่อนฤดูการระบาดของโรค เพื่อรณรงค์ให้ครูและนักเรียนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และลดความเสี่ยงปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากขึ้น |
50.00 | 90.00 |
2 | เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเด็กนักเรียนในสถานศึกษาเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร้อยละ 80 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเด็กนักเรียน ในสถานศึกษาเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกลดลงจากเดิม |
16.00 | 3.00 |
3 | เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียนให้น้อยลง โดยอ้างอิงข้อมูลจากร้อยละของภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index (CI)) จำนวนแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียนลดลง โดยอ้างอิงข้อมูลจากร้อยละของภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index (CI)) ลดลงร้อยละ 50 |
7.03 | 3.05 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก | 0 | 2,090.00 | ✔ | 2,090.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรม Big Cleaning Day ในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก | 0 | 34,800.00 | ✔ | 34,800.00 | |
รวม | 0 | 36,890.00 | 2 | 36,890.00 |
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีความตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
- ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเด็กนักเรียนในสถานศึกษาเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
- ลดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียนให้น้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 00:00 น.