กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2
กลุ่มคน
1. นางเคียงเพ็ญ ฐานะภักดี
2. นางสาวศุภลักษณ์ เพชรบุรี
3. นางนอร์ฮายาตี แวหะมะ
4. นางวันวิลา ชูโชติวัฒนากูล
5. นางสาวซูไรดา สามะ
3.
หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตที่ดีถือว่าเป็นเป้าหลักของการดำเนินงานหลายๆภาคส่วนที่จะดำเนินงานแบบบูรณาการให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสถานะสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ ซึ่่งถือเป็นงานหลักของบริการระดับปฐมภูมิที่มีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุก ๆ ฝ่ายต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการดูแลบุคคลและครอบครัว ชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่vการดำเนินชีวิต ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ที่ดูแลประชาชนในเขตรับผิดชอบจำนวน 15 ชุมชน ในปีที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนมีปัญหาสุขภาพทุกกลุ่มวัยและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา เช่น การฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ล่าช้า ไม่มาตามนัด หญิงตั้งครรภ์ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ในอนาคต นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพของเด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครอบคลุมน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องมาจากความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน เด็กวัยเรียนตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนในวัยทำงาน พบว่า ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นจุดเด่น ตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ในกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น และขาดผู้ดูแล ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม จากเหตุดังกล่าว ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568 นี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและสร้างกระแสให้ประชาชนเห็นความสำคัญและใส่ใจเรื่องสุขภาพให้มากขึ้น โดยใช้หลักง่าย ๆ 3อ. 2ส. มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเริ่มตั้งแต่การดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน บูรณาการร่วมกันในการดูแล ส่งเสริม สุขภาพของประชาชนให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืนซึ่งส่งผลให้ประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2. อัตราการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 90 3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 4. ความครอบคลุมของเด็กอายุ 9 18 30 42 60 เดือนได้รับการตรวจพัฒนาการร้อยละ 90 5. ร้อยละของเด็กอายุ 1 ปีได้รับวัคซีน MMR1 มากกว่า 95% 6. ร้อยละของเด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีน MMR2 มากกว่า 95% 7. อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยอายุ 30-60 ปีมากกว่าร้อยละ 20 8. ร้อยละของประชากรอายุ 50-70 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยวิธิการตรวจ Fit test 50 9. อัตราการคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 10. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้
    ตัวชี้วัด : ประชาชนมีทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 70.00
  • 3. เพื่อส่งสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและมีความประทับใจในบริการของสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านและแม่ข่าย
    ตัวชี้วัด : ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและมีความประทับใจในบริการของสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านและแม่ข่าย
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 70.00
  • 4. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น
    ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการภาคประชาชน
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทุกกลุ่มวัยในเขตศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 220 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย
    2. จัดบูธให้ความรู้ 6 บูธคือ บูธโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง บูธแม่และเด็ก บูธโรคติดต่อและการป้องกัน บูธผู้สูงอายุ บูธแพทย์แผนไทย บูธทันตกรรม
    3. คัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดีจำนวน 3 คน
    4. คัดเลือกหนูน้อยสุขภาพดีจำนวน 3 คน
    5.สรุปการดำเนินกิจกรรมและกำหนดแผนการจัดกิจกรรมคร้้งต่อไป
    กำหนดการ
    08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
    08.30 - 09.00 น. พิธิเปิดโครงการฯโดยนายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
    09.00 - 12.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 14.00 น. กิจกรรมกลุ่มฐานความรู้ 3 ฐาน 1.การจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน 2.การดูแลผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ/เปราะบาง/ด้อยโอกาส ของชุมชน 3.แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
    14.00 - 15.30 น. กิจกรรมเข้าบูธความรู้ 6 บูธ 1.บูธโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.บูธแม่และเด็ก 3.บูธโรคติดต่อที่พบบ่อยในชุมชน 4.บูธผู้สูงอายุ 5.บูธแพทย์แผนไทย 6.บูธทันตกรรม และกิจกรรมคัดเลือกหนูน้อยสุขภาพดีและผู้สูงอายุสุขภาพดี
    15.30 - 16.00 น. มอบของชำร่วยให้กับหนูน้อยสุขภาพดีและผู้สูงอายุสุขภาพดี
    งบประมาณ
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 220 คน เป็นเงิน 13,200 บาท
    - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท 1 มื้อ x 220 คน เป็นเงิน 13,200 บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 3 คน x 1 ชั่วโมงเป็นเงิน 900 บาท
    - ค่าจัดทำเกียรติบัตรพร้อบกรอบให้แก่ผู้สูงอายุสุขภาพดีจำนวน 3 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท
    - ค่าจัดทำเกียรติบัตรพร้อบกรอบให้แก่หนูน้อยสุขภาพดีจำนวน 3 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท
    - ค่าอุปกรณ์การจัดบูธ บูธละ 3,000 บาท x 6 บูธ เป็นเงิน 18,000 บาท

    งบประมาณ 50,100.00 บาท
  • 2. พัฒนาศักยภาพแกนนำสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชนเพื่อจัดตั้งสถานีสุขภาพ Health station (ชุมชนตันหยงมะลิและชุมชนทรายทอง)
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย อสม. ผู้นำศาสนา กรรมการชุมชน ๆ ละ 15 คน จำนวน 2 ชุมชน (นำร่องชุมชนตันหยงมะลิและชุมชนทรายทอง) 30 คน และคณะทำงาน 5 คน รวมทั้งหมด 35 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    - อบรมให้ความรู้และฝึกปฎิบัติ
    1. เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การตรวจพัฒนาการ ประเมินภาวะทุพโภชนาการของเด็ก 0-6 ปี
    2. เรื่องการวางแผนครอบครัวและการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่
    3. การค้นหาหญิงตั้งคให้ความรรภ์และมารดาหลังคลอดและให้คำแนะนำในการดูแลส่งเสริมสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอดและการดูแลทารก
    4. ให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
    5. ให้ความรู้เรื่องโรคระบาดในชุมชน การดูแล ป้องกันและควบคุมการระบาดในชุมชน
    6. ให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ
    7. ให้ความรู้เรื่อง 3อ. 2ส. ให้สามารถมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
    กำหนดการ
    08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
    08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการฯ โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
    09.00 - 12.00 น. บรรยายให้ความรู้ 1. การสร้างเสริมภ฿มิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี 2. เรื่องการวางแผนครอบครัว การตรวจค้ดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส์ใหญ่ 3. การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดา-ทารกหลังคลอด 4. โรคติดต่อที่พบบ่อยในชุมชน 5. การตรวจคัดกรอง ความดันโลหิตและเบาหวาน 6. การตรวจคัดกรองผู้สูงอายุ
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 14.30 น. ฝึกปฏิบัติ แบ่งกลุ่มกิจกรรม 3 กลุ่ม 1. แนวทางการจัดตั้งสถานีสุขภาพ 2. การคัดกรอง ความดัน เบาหวาน มะเร็งและผู้สูงอายุ 3. วิธีประเมินภาวะโภชนาการ/วัคซีน/ประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีและเทคนิคการติดตามค้นหาหญิงตั้งครรภ์/มารดา-ทารกหลังคลอด
    14.30 - 15.30 น. บทบาทหน้าที่ของแกนนำสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน
    15.30 - 16.00 น. ประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างช่วงเช้า 10.00 - 10.15 น. ช่วงบ่าย 14.30 - 14.45 น.
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 35 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท 1 มื้อ x 35 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
    3. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
    4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 3 คน เป็นเงิน 900 บาท
    5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 7,900.00 บาท
  • 3. จัดตั้งสถานีสุขภาพ(Health station) นำร่อง 2 ชุมชน
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน จำนวน 50 คน/ชุมชน รวม 100 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    - จัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชนนำร่อง คือ1.ชุมชนตันหยงมะลิ2.ชุมชนทรายทองโดยดำเนินการเปิดสถานีสุขภาพเดือนละ 1 ชุมชน โดยมีแกนนำสร้างเสริมสุขภาพที่ผ่านการอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะ เป็นแกนหลักในการดำเนินกิจกรรมโดยมีทีม เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลชุมชนดังกล่าวเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและประสานงานซึ่งในสถานีสุขภาพจะมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้
    1. การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพ
    2. จัดกิจกรรมสุขภาพกายและใจ เช่น การออกกำลังกายการฝึกสมาธิ ฯลฯ
    3. มีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของประชนในชุมชน แยกเป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยเพื่อสะดวกในการติดตามดูแล - พิธีเปิดสถานีสุขภาพ 1 สถานี / เดือน ครบทั้ง 2 ชุมชน
    กำหนดการ
    จัดตั้งสถานีสุขภาพ เดือนละ 1 สถานีเริ่มดำเนินการ เดือนกุมภาพันธ์ 2568-สิงหาคม 2568 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
    08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
    09.00 - 10.00 น. คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
    10.00 - 12.00 น. พิธีเปิดสถานีสุขภาพ โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก / นำเสนอผลการดำเนินงานของสถานีสุขภาพ ปัญหาการดำเนินงาน ความต้องการ การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะแนวทางการดำเนินกิจกรรมที่ยั่งยืน
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 1 มื้อ x 50 คน x 2 ชุมชน เป็นเงิน 3,000 บาท
    2. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
    - เครื่องวัดความดันโลหิต Omron ราคาเครื่องละ 3,500 บาท x 2 เครื่อง เป็นเงิน 7,000 บาท
    - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล ราคาเครื่องละ 1,200 บาท x 2 เครื่อง เป็นเงิน 2,400 บาท
    - เครื่องเจาะน้ำตาลพร้อมเข็มเจาะปลายนิ้วและแถบตรวจ เป็นเงิน 3,000 บาท
    - วงล้อประเมินสุขภาพดัชนีมวลกายวงล้อละ 2,000 บาท x 2 ชุมชน เป็นเงิน 4,000 บาท
    - วงล้อคัดกรองความดันและเบาหวานวงล้อละ 2,000 บาท x 2 ชุมชน เป็นเงิน 4,000 บาท
    - บอร์ดให้ความรู้ขนาด 10.80 เมตร แผ่นละ 1,000 บาท จำนวน 5 แผ่น x 2 ชุมชน เป็นเงิน 10,000 บาท
    - อุปกรณ์ฝึกสมองผู้สูงอายุ 2,000 บาท
    - โมเดลเต้านมผ้า 1,000 บาท
    - ค่าอุปกรณ์อื่นๆได้แก่ฟิวเจอร์บอร์ด 2 แผ่น สายวัดส่วนสูง 10 เส้นกระดาษกาวสองหน้า 3 ม้วน กระดาษA4 2 รีม ปากกา 50 ด้าม แฟ้มใส่ประวัติผู้รับบริการ 7 โหล เป็นเงิน 1,500 บาท

    งบประมาณ 37,900.00 บาท
  • 4. ติดตามผลการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 2 สถานี
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน จำนวน 50 คน/ชุมชน รวม 100 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    - ติดตามผลการดำเนินงานในสถานีสุขภาพทุกสถานี วิเคราะห์สถานะในชุมชน สะท้อนปัญหาการดำเนินงานและปัญหาสุขภาพของชุมชนแต่ละชุมชนที่ต้องดำเนินการแก้ไขและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีโดยแบ่งเป็นด้านๆเช่น กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางเพื่อจัดกิจกรรมการดูแลได้ครอบคลุม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละสถานีให้มีการพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันคือ ประชาชนสุขภาพดี
    กำหนดการ (ติดตามผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง/เดือนตลอดระยะเวลา 1 ปี)
    08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
    09.00 - 12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานในสถานีสุขภาพ โดยแกนนำสร้างเสริมสุขภาพ ปัญหา อุปสรรค / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าสถานีสุขภาพนำร่อง/เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานที่ยั่งยืนเพื่อประชาชนในชุมชน
    งบประมาณ
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท 1 มื้อ x 50 คน x 2 ชุมชน เป็นเงิน 3,000 บาท

    งบประมาณ 3,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

ชุมชนในเชตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2จำนวน 15 ชุมชน สถานที่ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 และ ชุมชนนำร่อง 7 ชุมชน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 98,900.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกกิจกรรมและค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. มีสถานีสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงและได้รับบริการที่ดีในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน และมีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง
  2. ขยายสถานีสุขภาพในปีต่อไปได้อย่างน้อย 50 %ของชุมที่ยังไม่ดำเนินกิจกรรม
  3. ประชาชนได้รับการดูแลจากแกนนำสุขภาพทุกกลุ่มวัย และได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 98,900.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................