กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2

1. นางเคียงเพ็ญ ฐานะภักดี
2. นางสาวศุภลักษณ์ เพชรบุรี
3. นางนอร์ฮายาตี แวหะมะ
4. นางวันวิลา ชูโชติวัฒนากูล
5. นางสาวซูไรดา สามะ

ชุมชนในเชตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2จำนวน 15 ชุมชน สถานที่ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 และ ชุมชนนำร่อง 7 ชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตที่ดีถือว่าเป็นเป้าหลักของการดำเนินงานหลายๆภาคส่วนที่จะดำเนินงานแบบบูรณาการให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสถานะสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ ซึ่่งถือเป็นงานหลักของบริการระดับปฐมภูมิที่มีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุก ๆ ฝ่ายต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการดูแลบุคคลและครอบครัว ชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่vการดำเนินชีวิต ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ที่ดูแลประชาชนในเขตรับผิดชอบจำนวน 15 ชุมชน ในปีที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนมีปัญหาสุขภาพทุกกลุ่มวัยและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา เช่น การฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ล่าช้า ไม่มาตามนัด หญิงตั้งครรภ์ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ในอนาคต นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพของเด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครอบคลุมน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องมาจากความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน เด็กวัยเรียนตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนในวัยทำงาน พบว่า ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นจุดเด่น ตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ในกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น และขาดผู้ดูแล ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม จากเหตุดังกล่าว ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568 นี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและสร้างกระแสให้ประชาชนเห็นความสำคัญและใส่ใจเรื่องสุขภาพให้มากขึ้น โดยใช้หลักง่าย ๆ 3อ. 2ส. มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเริ่มตั้งแต่การดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน บูรณาการร่วมกันในการดูแล ส่งเสริม สุขภาพของประชาชนให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืนซึ่งส่งผลให้ประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. อัตราการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 90
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
  4. ความครอบคลุมของเด็กอายุ 9 18 30 42 60 เดือนได้รับการตรวจพัฒนาการร้อยละ 90
  5. ร้อยละของเด็กอายุ 1 ปีได้รับวัคซีน MMR1 มากกว่า 95%
  6. ร้อยละของเด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีน MMR2 มากกว่า 95%
  7. อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยอายุ 30-60 ปีมากกว่าร้อยละ 20
  8. ร้อยละของประชากรอายุ 50-70 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยวิธิการตรวจ Fit test 50
  9. อัตราการคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  10. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้

ประชาชนมีทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้

40.00 70.00
3 เพื่อส่งสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและมีความประทับใจในบริการของสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านและแม่ข่าย

ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและมีความประทับใจในบริการของสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านและแม่ข่าย

50.00 70.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการภาคประชาชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการภาคประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทุกกลุ่มวัยในเขตศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 220 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย
2. จัดบูธให้ความรู้ 6 บูธคือ บูธโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง บูธแม่และเด็ก บูธโรคติดต่อและการป้องกัน บูธผู้สูงอายุ บูธแพทย์แผนไทย บูธทันตกรรม
3. คัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดีจำนวน 3 คน
4. คัดเลือกหนูน้อยสุขภาพดีจำนวน 3 คน
5.สรุปการดำเนินกิจกรรมและกำหนดแผนการจัดกิจกรรมคร้้งต่อไป
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. พิธิเปิดโครงการฯโดยนายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
09.00 - 12.00 น. บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. กิจกรรมกลุ่มฐานความรู้ 3 ฐาน 1.การจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน 2.การดูแลผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ/เปราะบาง/ด้อยโอกาส ของชุมชน 3.แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
14.00 - 15.30 น. กิจกรรมเข้าบูธความรู้ 6 บูธ 1.บูธโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.บูธแม่และเด็ก 3.บูธโรคติดต่อที่พบบ่อยในชุมชน 4.บูธผู้สูงอายุ 5.บูธแพทย์แผนไทย 6.บูธทันตกรรม และกิจกรรมคัดเลือกหนูน้อยสุขภาพดีและผู้สูงอายุสุขภาพดี
15.30 - 16.00 น. มอบของชำร่วยให้กับหนูน้อยสุขภาพดีและผู้สูงอายุสุขภาพดี
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 220 คน เป็นเงิน 13,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท 1 มื้อ x 220 คน เป็นเงิน 13,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 3 คน x 1 ชั่วโมงเป็นเงิน 900 บาท
- ค่าจัดทำเกียรติบัตรพร้อบกรอบให้แก่ผู้สูงอายุสุขภาพดีจำนวน 3 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าจัดทำเกียรติบัตรพร้อบกรอบให้แก่หนูน้อยสุขภาพดีจำนวน 3 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าอุปกรณ์การจัดบูธ บูธละ 3,000 บาท x 6 บูธ เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 13 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเพิ่มขึ้นจากเดิม
  2. ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50100.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพแกนนำสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชนเพื่อจัดตั้งสถานีสุขภาพ Health station (ชุมชนตันหยงมะลิและชุมชนทรายทอง)

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนำสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชนเพื่อจัดตั้งสถานีสุขภาพ Health station (ชุมชนตันหยงมะลิและชุมชนทรายทอง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. ผู้นำศาสนา กรรมการชุมชน ๆ ละ 15 คน จำนวน 2 ชุมชน (นำร่องชุมชนตันหยงมะลิและชุมชนทรายทอง) 30 คน และคณะทำงาน 5 คน รวมทั้งหมด 35 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมให้ความรู้และฝึกปฎิบัติ
1. เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การตรวจพัฒนาการ ประเมินภาวะทุพโภชนาการของเด็ก 0-6 ปี
2. เรื่องการวางแผนครอบครัวและการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่
3. การค้นหาหญิงตั้งคให้ความรรภ์และมารดาหลังคลอดและให้คำแนะนำในการดูแลส่งเสริมสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอดและการดูแลทารก
4. ให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
5. ให้ความรู้เรื่องโรคระบาดในชุมชน การดูแล ป้องกันและควบคุมการระบาดในชุมชน
6. ให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ
7. ให้ความรู้เรื่อง 3อ. 2ส. ให้สามารถมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการฯ โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
09.00 - 12.00 น. บรรยายให้ความรู้ 1. การสร้างเสริมภ฿มิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี 2. เรื่องการวางแผนครอบครัว การตรวจค้ดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส์ใหญ่ 3. การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดา-ทารกหลังคลอด 4. โรคติดต่อที่พบบ่อยในชุมชน 5. การตรวจคัดกรอง ความดันโลหิตและเบาหวาน 6. การตรวจคัดกรองผู้สูงอายุ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น. ฝึกปฏิบัติ แบ่งกลุ่มกิจกรรม 3 กลุ่ม 1. แนวทางการจัดตั้งสถานีสุขภาพ 2. การคัดกรอง ความดัน เบาหวาน มะเร็งและผู้สูงอายุ 3. วิธีประเมินภาวะโภชนาการ/วัคซีน/ประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีและเทคนิคการติดตามค้นหาหญิงตั้งครรภ์/มารดา-ทารกหลังคลอด
14.30 - 15.30 น. บทบาทหน้าที่ของแกนนำสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน
15.30 - 16.00 น. ประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างช่วงเช้า 10.00 - 10.15 น. ช่วงบ่าย 14.30 - 14.45 น.
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 35 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท 1 มื้อ x 35 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 3 คน เป็นเงิน 900 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแกนนำสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนนำร่องทั้ง 7 ชุมชน
  2. แกนนำมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆได้ เช่น การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ค้นหา ติดตาม กลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแล ในชุมชนที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ประชาชนทุกกลุ่มวัยที่มีปัญหาด้านสุขภาพได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งสถานีสุขภาพ(Health station) นำร่อง 2 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งสถานีสุขภาพ(Health station) นำร่อง 2 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน จำนวน 50 คน/ชุมชน รวม 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- จัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชนนำร่อง คือ1.ชุมชนตันหยงมะลิ2.ชุมชนทรายทองโดยดำเนินการเปิดสถานีสุขภาพเดือนละ 1 ชุมชน โดยมีแกนนำสร้างเสริมสุขภาพที่ผ่านการอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะ เป็นแกนหลักในการดำเนินกิจกรรมโดยมีทีม เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลชุมชนดังกล่าวเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและประสานงานซึ่งในสถานีสุขภาพจะมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้
1. การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพ
2. จัดกิจกรรมสุขภาพกายและใจ เช่น การออกกำลังกายการฝึกสมาธิ ฯลฯ
3. มีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของประชนในชุมชน แยกเป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยเพื่อสะดวกในการติดตามดูแล - พิธีเปิดสถานีสุขภาพ 1 สถานี / เดือน ครบทั้ง 2 ชุมชน
กำหนดการ
จัดตั้งสถานีสุขภาพ เดือนละ 1 สถานีเริ่มดำเนินการ เดือนกุมภาพันธ์ 2568-สิงหาคม 2568 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
10.00 - 12.00 น. พิธีเปิดสถานีสุขภาพ โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก / นำเสนอผลการดำเนินงานของสถานีสุขภาพ ปัญหาการดำเนินงาน ความต้องการ การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะแนวทางการดำเนินกิจกรรมที่ยั่งยืน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 1 มื้อ x 50 คน x 2 ชุมชน เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
- เครื่องวัดความดันโลหิต Omron ราคาเครื่องละ 3,500 บาท x 2 เครื่อง เป็นเงิน 7,000 บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล ราคาเครื่องละ 1,200 บาท x 2 เครื่อง เป็นเงิน 2,400 บาท
- เครื่องเจาะน้ำตาลพร้อมเข็มเจาะปลายนิ้วและแถบตรวจ เป็นเงิน 3,000 บาท
- วงล้อประเมินสุขภาพดัชนีมวลกายวงล้อละ 2,000 บาท x 2 ชุมชน เป็นเงิน 4,000 บาท
- วงล้อคัดกรองความดันและเบาหวานวงล้อละ 2,000 บาท x 2 ชุมชน เป็นเงิน 4,000 บาท
- บอร์ดให้ความรู้ขนาด 10.80 เมตร แผ่นละ 1,000 บาท จำนวน 5 แผ่น x 2 ชุมชน เป็นเงิน 10,000 บาท
- อุปกรณ์ฝึกสมองผู้สูงอายุ 2,000 บาท
- โมเดลเต้านมผ้า 1,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์อื่นๆได้แก่ฟิวเจอร์บอร์ด 2 แผ่น สายวัดส่วนสูง 10 เส้นกระดาษกาวสองหน้า 3 ม้วน กระดาษA4 2 รีม ปากกา 50 ด้าม แฟ้มใส่ประวัติผู้รับบริการ 7 โหล เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีสถานีสุขภาพพร้อมให้บริการประชาชนในชุมชน 2 ชุมชน
  • ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลสุขภาพครอบคลุม
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไดรับการดูแล กลุ่มป่วยได้รับการดูแลและส่งต่อยังสถานบริการปฐมภูมิและได้รับการเยี่ยมดูแลต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37900.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 2 สถานี

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 2 สถานี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน จำนวน 50 คน/ชุมชน รวม 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ติดตามผลการดำเนินงานในสถานีสุขภาพทุกสถานี วิเคราะห์สถานะในชุมชน สะท้อนปัญหาการดำเนินงานและปัญหาสุขภาพของชุมชนแต่ละชุมชนที่ต้องดำเนินการแก้ไขและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีโดยแบ่งเป็นด้านๆเช่น กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางเพื่อจัดกิจกรรมการดูแลได้ครอบคลุม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละสถานีให้มีการพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันคือ ประชาชนสุขภาพดี
กำหนดการ (ติดตามผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง/เดือนตลอดระยะเวลา 1 ปี)
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานในสถานีสุขภาพ โดยแกนนำสร้างเสริมสุขภาพ ปัญหา อุปสรรค / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าสถานีสุขภาพนำร่อง/เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานที่ยั่งยืนเพื่อประชาชนในชุมชน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท 1 มื้อ x 50 คน x 2 ชุมชน เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 8 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานีสุขภาพ ทุกสถานีดำเนินกิกรรมต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 98,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรมและค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีสถานีสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงและได้รับบริการที่ดีในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน และมีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง
2. ขยายสถานีสุขภาพในปีต่อไปได้อย่างน้อย 50 %ของชุมที่ยังไม่ดำเนินกิจกรรม
3. ประชาชนได้รับการดูแลจากแกนนำสุขภาพทุกกลุ่มวัย และได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น


>