โครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2 |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 98,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเคียงเพ็ญ ฐานะภักดี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
คุณภาพชีวิตที่ดีถือว่าเป็นเป้าหลักของการดำเนินงานหลายๆภาคส่วนที่จะดำเนินงานแบบบูรณาการให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสถานะสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ ซึ่่งถือเป็นงานหลักของบริการระดับปฐมภูมิที่มีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุก ๆ ฝ่ายต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการดูแลบุคคลและครอบครัว ชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่vการดำเนินชีวิต ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ที่ดูแลประชาชนในเขตรับผิดชอบจำนวน 15 ชุมชน ในปีที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนมีปัญหาสุขภาพทุกกลุ่มวัยและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา เช่น การฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ล่าช้า ไม่มาตามนัด หญิงตั้งครรภ์ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ในอนาคต นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพของเด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครอบคลุมน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องมาจากความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน เด็กวัยเรียนตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนในวัยทำงาน พบว่า ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นจุดเด่น ตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ในกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น และขาดผู้ดูแล ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม จากเหตุดังกล่าว ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนสุขภาพดีชีวีมีสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2568 นี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและสร้างกระแสให้ประชาชนเห็นความสำคัญและใส่ใจเรื่องสุขภาพให้มากขึ้น โดยใช้หลักง่าย ๆ 3อ. 2ส. มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเริ่มตั้งแต่การดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน บูรณาการร่วมกันในการดูแล ส่งเสริม สุขภาพของประชาชนให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืนซึ่งส่งผลให้ประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
|
60.00 | 80.00 |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ ประชาชนมีทักษะในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ |
40.00 | 70.00 |
3 | เพื่อส่งสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและมีความประทับใจในบริการของสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านและแม่ข่าย ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและมีความประทับใจในบริการของสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านและแม่ข่าย |
50.00 | 70.00 |
4 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น |
50.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 98,900.00 | 0 | 0.00 | |
13 ม.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการภาคประชาชน | 0 | 50,100.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 | พัฒนาศักยภาพแกนนำสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชนเพื่อจัดตั้งสถานีสุขภาพ Health station (ชุมชนตันหยงมะลิและชุมชนทรายทอง) | 0 | 7,900.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 29 ส.ค. 68 | จัดตั้งสถานีสุขภาพ(Health station) นำร่อง 2 ชุมชน | 0 | 37,900.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 - 8 ก.ย. 68 | ติดตามผลการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 2 สถานี | 0 | 3,000.00 | - |
- มีสถานีสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงและได้รับบริการที่ดีในชุมชนนำร่อง 2 ชุมชน และมีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง
- ขยายสถานีสุขภาพในปีต่อไปได้อย่างน้อย 50 %ของชุมที่ยังไม่ดำเนินกิจกรรม
- ประชาชนได้รับการดูแลจากแกนนำสุขภาพทุกกลุ่มวัย และได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
- ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้เพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2567 00:00 น.