กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพคนเมืองลุงสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

คณะกรรมการแกนนำสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง

นางอุดมศรี ซ้ายหุย
นางสาวจุไรพร ไพรพฤกษ์
นายธวัชชัย วัฒนสิทธิ์
นางจุฑามาศ ทองฤทธิ์นุ่น
นางโสภิณ นันทรัตน์

เทศบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ที่เปลี่ยนไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก กระบวนสร้างสุขภาพไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในการปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ที่ผ่านมาระบบสุขภาพของคนไทยจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้น และระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ยังมุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไป จึงกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการและองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่าย ๆ ด้วยต้นทุนต่ำ ป้องกันโรค อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยกลางคน และโรคกระดูกตะโพกหักในวัยผู้สูงอายุ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ดังนั้น หากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นว่า การออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี จึงเป็นมาตรการทางอ้อมที่ใช้ในการสร้างสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

50% ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกิจกรรมและได้รับความรู้แต่ละบู๊ท

20.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 250
กลุ่มวัยทำงาน 350
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/11/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ในแต่ละบู๊ทนิทรรศการ1.บู๊ท อสม.นักวิทย์ 2.บู๊ทควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ 3.บู๊ทผู้สูงอายุ 4.บู๊ทแพทย์แผนไทย 5.บู๊ทป้องกันอัมพฤตอัมพาตโรงพยาบาลพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ในแต่ละบู๊ทนิทรรศการ1.บู๊ท อสม.นักวิทย์ 2.บู๊ทควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ 3.บู๊ทผู้สูงอายุ 4.บู๊ทแพทย์แผนไทย 5.บู๊ทป้องกันอัมพฤตอัมพาตโรงพยาบาลพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เขียนโครงการ และวัตถุประสงค์โครงการ/กิจกรรม -ประชุมผู้เกี่ยวข้องรับทราบกิจกรรม และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ -ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ และจัดเตรียมอุปกรณ์ตามความต้องการ งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ มีดังนี้ 1.ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน 2,000 บาท 2.ค่าจ้างทำไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 แผ่นป้าย ได้แก่
-ป้ายไวนิลบนเวที ขนาด 7.2 x 2.5 เมตร ราคา 2,700บาท -ป้ายไวนิลติดรถแห่ประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.21 x 1.99 เมตร พร้อมติดตั้ง จำนวน 2 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 3.อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการให้ความรู้ จำนวน 5 บู๊ท เป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤศจิกายน 2567 ถึง 4 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารโดย อสม.นักวิทย์ , ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในหน้าฝน และพิษภัยจากบุหรี่ , ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และผลิตภัณฑ์/สินค้าจากผู้สูงอายุ , ความรู้ในการป้องกันอัมพฤต อัมพาต จากโรงพยาบาลพัทลุง ,การดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย การประเมินองค์ประกอบร่างกาย ดัชนีมวลกาย และความรู้เรื่องการนวดแผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานชุมชนในการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในการออกกำลังกาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ส่งเสริมสุขาพในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ส่งเสริมสุขาพในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานโรงเรียนเป้าหมาย ในการรณรงค์ออกกำลังกายในโรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเหมาะสมกับวัย และได้ออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานศูนย์พัฒนากลุ่มเป้าหมายรณรงค์ส่งเสริมออกกำลังกาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนก่อนปฐมวัยได้ออกกำลังกาย และมีพัฒนาการตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,100.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ
2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้


>