กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพคนเมืองลุงสุขภาพดี
รหัสโครงการ 2568-L7572-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการแกนนำสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 พฤศจิกายน 2567 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุดมศรี ซ้ายหุย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ที่เปลี่ยนไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก กระบวนสร้างสุขภาพไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในการปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ที่ผ่านมาระบบสุขภาพของคนไทยจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้น และระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ยังมุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไป จึงกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการและองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่าย ๆ ด้วยต้นทุนต่ำ ป้องกันโรค อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยกลางคน และโรคกระดูกตะโพกหักในวัยผู้สูงอายุ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ดังนั้น หากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นว่า การออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี จึงเป็นมาตรการทางอ้อมที่ใช้ในการสร้างสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

50% ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกิจกรรมและได้รับความรู้แต่ละบู๊ท

20.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,100.00 1 25,100.00
4 พ.ย. 67 กิจกรรมให้ความรู้ในแต่ละบู๊ทนิทรรศการ1.บู๊ท อสม.นักวิทย์ 2.บู๊ทควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ 3.บู๊ทผู้สูงอายุ 4.บู๊ทแพทย์แผนไทย 5.บู๊ทป้องกันอัมพฤตอัมพาตโรงพยาบาลพัทลุง 0 25,100.00 25,100.00
2 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน 0 0.00 -
1 - 31 ม.ค. 68 รณรงค์ส่งเสริมสุขาพในโรงเรียน 0 0.00 -
3 - 28 ก.พ. 68 รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ 2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ