กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานในการจัดการตัวเองด้วยกระบวนการ DSMES รุ่นที่ 2 ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางวันวิลา ชูโชติวัฒนากูล
2. นายอานูวา สะอิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่ง 5 โรคที่ที่สำคัญได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและ อีก1 โรคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รุนแรงที่สุดในโลกและจำนวนผู้ป่วยเบาหวานได้เพิ่มขึ้นทุกปี เป็นโรคทีมีภาวะแทรกซ้อนทั่วระบบของร่างกาย บางรายมีความรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อรายได้ เศรฐกิจ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในครอบครัว
จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกทั้งหมด186 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.54 และผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานในการจัดการตัวเองด้วยกระบวนการ DSMES ประจำปี 2567 จำนวน 50 ราย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร่วม จำนวน 48 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม จำนวน 2 ราย สามารถควบุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 1 ราย คิดเป็น ร้อยละ 50 และในกลุ่มที่สามารถควบคุมได้จะเข้าสู่กระบวนการปรับลดยาและเข้าสู่ DM-Remission ต่อไป
จากผลการดำเนินโครงการ ทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 เล็งเห็นถึงผลสำเร็จจึงได้มีการจัดโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานในการจัดการตัวเองด้วยกระบวนการ DSMES ประจำปี 2568 เป็นรุ่นที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องเหมาะสม ลดภาวะแทรกซ้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถควบคุมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

30.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้สามารถเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ (DM Remission)

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ สามารถเข้าสู่ DM Remission ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

10.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10
แกนนำชุมชน 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 50 คน , แกนนำในชุมชน จำนวน 20 คน และคณะทำงาน จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ
09.00 - 10.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
10.00 - 11.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค
11.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรคเบาหวาน
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 15.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการตนเองโดยใช้ความรู้เรื่อง 7 พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านเบาหวาน
15.00 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่ม
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 80 คน = 4,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท 1 มื้อ x 80 คน = 4,800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย600 บาท x 5 ชั่วโมง = 3,000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม คนละ 300 บาท x 7 คน x 1 ชั่วโมง= 2,100 บาท
5. ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องละ 2,500 บาท จำนวน 5 เครื่อง = 12,500 บาท
6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ ปากกา สมุด ฯลฯ =2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและแกนนำชุมชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29200.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 50 คน , แกนนำในชุมชน จำนวน 20 คน และคณะทำงาน จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กำหนดการ
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. ประเมินระดับ BMI ค่าความดันโลหิต และเจาะเลือดเพื่อติดตามระดับน้ำตาลสะสม ในเลือด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 1 มื้อ x 80 คน = 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 50 คน , แกนนำในชุมชน จำนวน 20 คน และคณะทำงาน จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- สรุปผลการดำเนินงาน
กำหนดการ
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. ประเมินระดับ BMI ค่าความดันโลหิต พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / สรุปผลการเข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้กระบวนการ DSMES
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 1 มื้อ x 80 คน = 2,400 บาท
2. เกียรติบัตรพร้อมกรอบเพื่อเป็นรางวัลสำหรับผู้ป่วยที่สามารถปรับลดได้ 3 คนแรก จำนวน 3 รางวัล ๆ ละ 500 บาท = 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการสรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,500.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2. ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้สามารถเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ (DM Remission) ได้


>