กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเข้าถึงบริการและควบคุมได้ ประจำปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเข้าถึงบริการและควบคุมได้ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางวันวิลา ชูโชติวัฒนากูล
2. นายอานูวา สะอิ

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากฐานข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 14 ล้านคน ขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 7 ล้านคน และจากฐานข้อมูลใน HDC ปี 2567 ในจังหวัดนราธิวาสมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 77,157 ราย รับการรักษาเพียง 46,701 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.53 ข้อมูลในอำเภอสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6,449 ราย เข้ารับการรักษาในระบบเพียง 4,438 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.82 ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ปีงบประมาณ 2567 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,692 ราย เข้ารับการรักษาในระบบเพียง 1,303 ราย คิดเเป็นร้อยละ 77.01 และอีกประมาณร้อยละ 25 ไม่ได้รับการรักษา จากการทำแบบสอบถามและสำรวจในชุมชนพบว่าผู้ป่วยบางรายไม่ได้ให้ความสำคัญในการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ บางรายรับการรักษาที่คลินิกแพทย์และไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง จากสถิติการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่หายจากระบบและไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้อง ขาดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการวินิจฉัย และเป็นกลุ่มที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มขึ้น และมีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาให้มารับการรักษาในระบบและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะในการดูแลปฎิบัติเพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดภาระค่าใช้จ่าย และผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยแต่ไม่ได้ป่วยจริงก็จะได้รับการคัดกรองและลบข้อมูลจากระบบ เพื่อให้มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา ได้รับการคัดกรองสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา มารับการรักษาเพิ่มขึ้น 20 %

10.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง

40.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี (BP < 140/90 mmHg) และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำในชุมชน 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหากลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ค้นหากลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง จำนวน 200 คน , แกนนำในชุมชน40 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. สืบค้นข้อมูลผู้ป่วยจากคลังข้อมูลสุขภาพ โปรแกรม Hos XP และ Hos PCU และแยกเป็นชุมชน
2. ประชุมทีมในการค้นหาผู้ป่วยประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ แกนนำในชุมชน (ผู้นำชุมชน และอสม.)
3. ลงค้นหากลู่มป่วยโรคความดันโลหิตในชุมชน
4. รวบรวมกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้เข้ารับการรักษาในระบบ และบันทึกข้อมูลในระบบ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 -12.00 น. ร่วมประชุมทีมในการค้นหาผู้ป่วยประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ แกนนำในชุมชน (ผู้นำชุมชน และอสม.) และลงค้นหากลู่มป่วยโรคความดันโลหิตในชุมชน
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน 40 คน/ x 2 ชั่วโมง x 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 1 มื้อ x 40 คน เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผุ้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน
2. แกนนำในชุมชน จำนวน 20 คน
3. คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวม 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ
09.00 - 10.00 น. ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของโรค
10.00 - 11.00 น. ให้ความรู้เรื่องการปรับปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
11.00 - 12.00 น. ให้ความรู้เรื่องยาและผลข้างเคียงของยา
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. ให้ความรู้เรื่องการวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองและวิธีการบันทึก
14.00 - 15.00 น. กิจกรรมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรี่ยนรู้
15.00 - 16.00 น. ถามตอบ และสรุปผล
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดืม 30 บาท x 2 มื้อ x 80 คน = 4,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 1 มื้อ x 80 คน = 4,800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 4 ชั่วโมง= 2,400 บาท
4. ค่าวิทยากรกลุ่ม ชั่วโมงละ 300 x 1 ชั่วโมง x 5 คน= 1,500 บาท
5. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องละ 3,500 บาท x 5 เครื่อง= 17,500 บาท
6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา ฯลฯ 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยและแกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ตรวจสุขภาพประจำปี
2. ติดตามผลการทำ HBP ทุก 1 เดือน 1 ครั้ง และพบแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
3. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุก 4 เดือน 1 ครั้งพบแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน
2. แกนนำในชุมชน จำนวน 20 คน
3. คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวม 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแจ้งผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ผู้เข้าร่วมโครงการ และสรุปผลดำเนินงาน
กำหนดการ
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแจ้งผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ผู้เข้าร่วมโครงการ และสรุปผลดำเนินงาน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 1 มื้อ x 80 คน = 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา ได้รับการคัดกรองสุขภาพ
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน


>