โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเข้าถึงบริการและควบคุมได้ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อเข้าถึงบริการและควบคุมได้ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 27 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 40,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอานูวา สะอิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากฐานข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 14 ล้านคน ขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 7 ล้านคน และจากฐานข้อมูลใน HDC ปี 2567 ในจังหวัดนราธิวาสมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 77,157 ราย รับการรักษาเพียง 46,701 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.53 ข้อมูลในอำเภอสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6,449 ราย เข้ารับการรักษาในระบบเพียง 4,438 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.82 ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ปีงบประมาณ 2567 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,692 ราย เข้ารับการรักษาในระบบเพียง 1,303 ราย คิดเเป็นร้อยละ 77.01 และอีกประมาณร้อยละ 25 ไม่ได้รับการรักษา จากการทำแบบสอบถามและสำรวจในชุมชนพบว่าผู้ป่วยบางรายไม่ได้ให้ความสำคัญในการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ บางรายรับการรักษาที่คลินิกแพทย์และไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง จากสถิติการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่หายจากระบบและไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้อง ขาดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการวินิจฉัย และเป็นกลุ่มที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มขึ้น และมีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาให้มารับการรักษาในระบบและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะในการดูแลปฎิบัติเพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดภาระค่าใช้จ่าย และผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยแต่ไม่ได้ป่วยจริงก็จะได้รับการคัดกรองและลบข้อมูลจากระบบ เพื่อให้มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา ได้รับการคัดกรองสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา มารับการรักษาเพิ่มขึ้น 20 % |
10.00 | 20.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง |
40.00 | 80.00 |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี (BP < 140/90 mmHg) และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน |
50.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 40,600.00 | 0 | 0.00 | 40,600.00 | |
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค้นหากลุ่มเป้าหมาย | 0 | 5,200.00 | - | - | ||
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและแกนนำชุมชน | 0 | 33,000.00 | - | - | ||
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามประเมินผล | 0 | 0.00 | - | - | ||
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 2,400.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 40,600.00 | 0 | 0.00 | 40,600.00 |
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา ได้รับการคัดกรองสุขภาพ
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2567 00:00 น.