กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟู First Responder ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโกลก

1.นายแพทย์จรุงวิทย์ ปลื้มเปรมจิตร
2.นางโรห์ฮานี แวดอเลาะ
3.นางสาวรุสนานี วานิ
4.นางสาวอาซือมะห์ มะดือเระ
5.นางสาวสูรยานี วิเศษศาตร์

มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนการนำส่งไปยังสถานพยาบาลเป็นระยะที่สำคัญ เพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็น ''Golden Hour'' ของการรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มากที่สุดมากกว่าการได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ การพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุและการสั่งการที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน การใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลกมีการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีจำนวนไม่มาก การพัฒนาหน่วยปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น ให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินและสถานการณ์ และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ทั้งในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้ ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบแตกตัน ซึ่งสามารถให้บริการในระบบช่องทางด่วนฉุกเฉินได้ ในปีที่ผ่านมา การให้บริการของเครือข่ายให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของประชาชน การใช้หมายเลข 1669 ของประชาชน ในอำเภอสุไหงโกลก พบว่า คุณภาพการดูแลในด้านต่างๆ มีดังนี้ - ด้านการดูแลทางเดินหายใจ เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2565-2567 ร้อยละ 98,98,99 ตามลำดับ - ด้านการห้ามเลือด เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2565-2567ร้อยละ 97,98,90 ตามลำดับ - ด้านการดามกระดูก เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2565-2567 ร้อยละ 98,99,95 ตามลำดับ จากผลการดำเนินงานดังกล่าวคุณภาพด้านการดูแลทั้ง3 ด้าน มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่ผ่านตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการดามกระดูก และการดูแลบาดแผลและด้านอื่นๆ ยังต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้ ทักษะ การดูแลมากขึ้น ทั้งงาน pre hospital care ได้มีการแบ่งระดับในการรับผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ คือ FR, BLS, ALS โดยเครือข่ายที่ดำเนินการช่วยเหลือและเข้าถึงประชาชนที่เร็วตามการสั่งการคือ FR เพื่อให้ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้และทักษะในการปฎิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับ FR เพื่อการช่วยเหลือณจุดเกิดเหตุที่ถูกต้องปลอดภัย งานอุบัติเหตุ ตะหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการฟื้นฟูหน่วย First Responder ประจำปี 25658 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูความรู้และทักษะให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธี

ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นมีความรู้และทักษะการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

70.00 90.00
2 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมิน
  1. ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยทางด้านทางเดินหายใจถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90
  2. ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยทางด้านการห้ามเลือดถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90
  3. ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยทางด้านการดามกระดูกถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90
70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 15/06/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมฟื้นฟู First Responder ประจำปี 2568

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมฟื้นฟู First Responder ประจำปี 2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนที่ปฏิบัติงานของมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจสุไหงโก-ลก จำนวน 80 คน คณะทำงาน 10 คน รวม 90 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ร่วมประชุมทีมภายในหน่วยงานและวางแผนการจัดโครงการอบรม
2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
3. ประสานงานกับมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจเพื่อกำหนดวันประชุม
4. แจ้งกำหนดการการจัดโครงการ พร้อมทั้งเขียนหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม หนังสือเชิญวิทยากร และประสานงานผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
5. จัดการอบรมฟื้นฟูทางวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ในการอบรมทั้งหมด 80 คน แบ่งเป็นกิจกรรมในภาคเช้าเป็นการให้ความรู้ภาคทฤษฎีโดยมีวิทยากรจากทีมห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทั้งอุบัติเหตุและโรคที่ฉุกเฉิน การดูแลผู้บาดเจ็บในสถาณกาณ์สาธารณภัย รวมถึง การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ในภาคบ่ายจัดให้มีการสาธิตทักษะในการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกภาคปฏิบัติในแต่ละฐาน
6. สรุปผลการจัดโครงการ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 -12.00 น. อบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี เรื่องการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทั้งอุบัติเหตุและโรคที่ฉุกเฉิน การดูแลผู้บาดเจ็บในสถาณกาณ์สาธารณภัย การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) โดยวิทยากรจากทีมห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. สาธิตทักษะในการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกภาคปฏิบัติในตามฐาน การเรียนรู้
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท/มื้อ X 90 คน เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท/มื้อ X 90 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท/ชม. X 3 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท/ชม. X 3 ชม. X 5 กลุ่ม X 2 คน เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา สมุด ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธี
  2. ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมิน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธี
2. ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมิน


>