แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นายแพทย์จรุงวิทย์ ปลื้มเปรมจิตร
2.นางโรห์ฮานี แวดอเลาะ
3.นางสาวรุสนานี วานิ
4.นางสาวอาซือมะห์ มะดือเระ
5.นางสาวสูรยานี วิเศษศาตร์
การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนการนำส่งไปยังสถานพยาบาลเป็นระยะที่สำคัญ เพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็น ''Golden Hour'' ของการรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มากที่สุดมากกว่าการได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ การพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุและการสั่งการที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน การใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลกมีการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีจำนวนไม่มาก การพัฒนาหน่วยปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น ให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินและสถานการณ์ และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ทั้งในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้ ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบแตกตัน ซึ่งสามารถให้บริการในระบบช่องทางด่วนฉุกเฉินได้ ในปีที่ผ่านมา การให้บริการของเครือข่ายให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของประชาชน การใช้หมายเลข 1669 ของประชาชน ในอำเภอสุไหงโกลก พบว่า คุณภาพการดูแลในด้านต่างๆ มีดังนี้ - ด้านการดูแลทางเดินหายใจ เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2565-2567 ร้อยละ 98,98,99 ตามลำดับ - ด้านการห้ามเลือด เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2565-2567ร้อยละ 97,98,90 ตามลำดับ - ด้านการดามกระดูก เป้าหมายร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2565-2567 ร้อยละ 98,99,95 ตามลำดับ จากผลการดำเนินงานดังกล่าวคุณภาพด้านการดูแลทั้ง3 ด้าน มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่ผ่านตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการดามกระดูก และการดูแลบาดแผลและด้านอื่นๆ ยังต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้ ทักษะ การดูแลมากขึ้น ทั้งงาน pre hospital care ได้มีการแบ่งระดับในการรับผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ คือ FR, BLS, ALS โดยเครือข่ายที่ดำเนินการช่วยเหลือและเข้าถึงประชาชนที่เร็วตามการสั่งการคือ FR เพื่อให้ผู้ปฎิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้และทักษะในการปฎิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับ FR เพื่อการช่วยเหลือณจุดเกิดเหตุที่ถูกต้องปลอดภัย งานอุบัติเหตุ ตะหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการฟื้นฟูหน่วย First Responder ประจำปี 25658 นี้ขึ้น
-
1. เพื่อฟื้นฟูความรู้และทักษะให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธีตัวชี้วัด : ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นมีความรู้และทักษะการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ 90ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 90.00
-
2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด : 1. ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยทางด้านทางเดินหายใจถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 2. ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยทางด้านการห้ามเลือดถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 3. ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยทางด้านการดามกระดูกถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 90.00
- 1. โครงการอบรมฟื้นฟู First Responder ประจำปี 2568รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนที่ปฏิบัติงานของมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจสุไหงโก-ลก จำนวน 80 คน คณะทำงาน 10 คน รวม 90 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ร่วมประชุมทีมภายในหน่วยงานและวางแผนการจัดโครงการอบรม
2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
3. ประสานงานกับมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจเพื่อกำหนดวันประชุม
4. แจ้งกำหนดการการจัดโครงการ พร้อมทั้งเขียนหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม หนังสือเชิญวิทยากร และประสานงานผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
5. จัดการอบรมฟื้นฟูทางวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ในการอบรมทั้งหมด 80 คน แบ่งเป็นกิจกรรมในภาคเช้าเป็นการให้ความรู้ภาคทฤษฎีโดยมีวิทยากรจากทีมห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทั้งอุบัติเหตุและโรคที่ฉุกเฉิน การดูแลผู้บาดเจ็บในสถาณกาณ์สาธารณภัย รวมถึง การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ในภาคบ่ายจัดให้มีการสาธิตทักษะในการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกภาคปฏิบัติในแต่ละฐาน
6. สรุปผลการจัดโครงการ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 -12.00 น. อบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี เรื่องการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทั้งอุบัติเหตุและโรคที่ฉุกเฉิน การดูแลผู้บาดเจ็บในสถาณกาณ์สาธารณภัย การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) โดยวิทยากรจากทีมห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. สาธิตทักษะในการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ และแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกภาคปฏิบัติในตามฐาน การเรียนรู้
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท/มื้อ X 90 คน เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท/มื้อ X 90 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท/ชม. X 3 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท/ชม. X 3 ชม. X 5 กลุ่ม X 2 คน เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา สมุด ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาทงบประมาณ 24,600.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
รวมงบประมาณโครงการ 24,600.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะให้ผู้ปฏิบัติการการกู้ชีพเบื้องต้นในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธี
- ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจวิธีการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมิน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................