2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เมืองของคนสุขภาพดี ทุกภาคีมีส่วนร่วม ศูนย์รวมแห่งภูมิปัญญา พัฒนาด้วยเทคโนโลยีเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตำบลอุโมงค์ ดังนั้นการที่ประชาชนทุกคนในพื้นที่สามารถเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและรักษาสุขภาพ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี เป็นสิ่งสำคัญตำบลอุโมงค์ มีพื้นที่ 20.09 ตร.กม. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรมีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 13,070 คน เป็นชาย6,173 คน เป็นหญิง 6,897 คน ผู้สูงอายุ 3,069 คน คิดเป็นร้อยละ 23ประชากรที่อายุน้อยกว่า 1 ปีเต็มมี 86 คน คิดเป็นร้อยละ 0.65ปิรามิดประชากรมีรูปคว่ำ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัจจุบันการรวมกลุ่มทางสังคมจะมีเฉพาะเวลามีงานประเพณีการออกกำลังกายหรือการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ในพื้นที่เฉลี่ยสัปดาห์ละ3 ครั้งส่วนหนึ่งอาจมาจากสาเหตุของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เร่งรีบ และให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้อง เป็นครอบครัวสังคมเดี่ยว มีการรวมตัวกันทำกิจกรรม ทางกาย ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาต่างๆ น้อยลง ทำให้ความสัมพันธ์ในชุมชนไม่แน่นแฟ้น เกิดภาวะเครียดและการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นดังนั้น กลุ่ม ชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา ของตำบลอุโมงค์จึงมีความประสงค์ที่จะดำรงไว้ซึ่งกิจกรรมการรวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและอนุรักษ์วัฒนธรรม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งเสริมความสัมพันธ์ และสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ประชาชนได้มีการรวมกลุ่มที่ทำกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพและอนุรักษ์การฟ้อนล้านนา
2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพ และมีสุขภาพทางกาย และสุขภาพจิต ที่ดี
3.เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการฟ้อนล้านนา
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/09/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ด้านผลผลิต
1.กลุ่ม ชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมการฟ้อนเพื่อสุขภาพ ร่วมกับหน่อยงานอื่น ในพื้นที่ อย่างน้อย ปีละ 4 ครั้ง
2.กลุ่ม ชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางกายเช่นออกกำลังกาย ฟ้อนรำ ยืดเยียดร่างกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3.ประชาชนมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมการฟ้อนรำ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่วมกันจำนวน 2 ครั้ง
ด้านผลลัพธ์
1.การออกกำลังกายโดยการฟ้อนล้านนาเป็นที่รู้จักของคนในตำบลอุโมงค์มากขึ้น
2.สร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาให้ความสนใจ และร่วมใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการฟ้อนล้านนา
3.สร้างรายได้จากการฟ้อนล้านนาเพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดการดำเนินการของกลุ่มชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา
4. ประชาชนในตำบลเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และการอนุรักษ์การฟ้อนล้านนา และเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความสุข สนุกสนานและได้ออกกำลังกายร่วมกัน
ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อันดี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบต่อไป