กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการฟ้อนรำ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มชมรมคนฮักสุขภาพและอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
75.70

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมืองของคนสุขภาพดี ทุกภาคีมีส่วนร่วม ศูนย์รวมแห่งภูมิปัญญา พัฒนาด้วยเทคโนโลยีเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตำบลอุโมงค์ ดังนั้นการที่ประชาชนทุกคนในพื้นที่สามารถเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและรักษาสุขภาพ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี เป็นสิ่งสำคัญตำบลอุโมงค์ มีพื้นที่ 20.09 ตร.กม. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรมีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 13,070 คน เป็นชาย6,173 คน เป็นหญิง 6,897 คน ผู้สูงอายุ 3,069 คน คิดเป็นร้อยละ 23ประชากรที่อายุน้อยกว่า 1 ปีเต็มมี 86 คน คิดเป็นร้อยละ 0.65ปิรามิดประชากรมีรูปคว่ำ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัจจุบันการรวมกลุ่มทางสังคมจะมีเฉพาะเวลามีงานประเพณีการออกกำลังกายหรือการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ในพื้นที่เฉลี่ยสัปดาห์ละ3 ครั้งส่วนหนึ่งอาจมาจากสาเหตุของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เร่งรีบ และให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้อง เป็นครอบครัวสังคมเดี่ยว มีการรวมตัวกันทำกิจกรรม ทางกาย ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาต่างๆ น้อยลง ทำให้ความสัมพันธ์ในชุมชนไม่แน่นแฟ้น เกิดภาวะเครียดและการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นดังนั้น กลุ่ม ชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา ของตำบลอุโมงค์จึงมีความประสงค์ที่จะดำรงไว้ซึ่งกิจกรรมการรวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและอนุรักษ์วัฒนธรรม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งเสริมความสัมพันธ์ และสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

75.70 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 ก.ย. 67 ประชุมชี้แจงโครงการและร่วมรับฟังความคิดเห็น คณะกรรมการชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนาในเรื่องการจัดกิจกรรม และการใช้จ่ายงบประมาณ 0 5,100.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 การรวมกลุ่มทำกิจกรรมฟ้อนล้านนา เดือนละ 1 ครั้ง 0 5,100.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ การออกกำลังกาย การฟ้อนล้านนา และการส่งเสริมสุขภาพด้วยการเคลื่อนใหวร่างกายในกิจกรรมต่างๆ 0 17,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 รวมกลุ่มทำกิจกรรมฟ้อนล้านนา ในงานกิจกรรมของชุมชน 0 3,700.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 ควบคุม กำกับ ติดตาม ดูแล 0 500.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินการ 0 3,600.00 -
รวม 0 35,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านผลผลิต 1.กลุ่ม ชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมการฟ้อนเพื่อสุขภาพ ร่วมกับหน่อยงานอื่น ในพื้นที่ อย่างน้อย ปีละ 4 ครั้ง 2.กลุ่ม ชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางกายเช่นออกกำลังกาย ฟ้อนรำ ยืดเยียดร่างกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 3.ประชาชนมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมการฟ้อนรำ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่วมกันจำนวน 2 ครั้ง

ด้านผลลัพธ์ 1.การออกกำลังกายโดยการฟ้อนล้านนาเป็นที่รู้จักของคนในตำบลอุโมงค์มากขึ้น 2.สร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาให้ความสนใจ และร่วมใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการฟ้อนล้านนา 3.สร้างรายได้จากการฟ้อนล้านนาเพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดการดำเนินการของกลุ่มชมรมคนฮักสุขภาพ และอนุรักษ์ฟ้อนล้านนา 4. ประชาชนในตำบลเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และการอนุรักษ์การฟ้อนล้านนา และเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความสุข สนุกสนานและได้ออกกำลังกายร่วมกัน
ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อันดี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2567 14:07 น.