2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง เมื่อเป็นโรคแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะต้องชีวิตทุกคน ซึ่งโรคมีพาหะที่นำโรคคือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นสุนัข แมว หนู เป็นต้น เมื่อคนไปสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือถูกน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคก็จะทำให้เชื้อโรคนั้นแพร่ติดต่อมาสู่คนได้ และสัตว์ที่เป็นโรค ก็ยังสามารถที่ติดต่อเชื้อโรคไปยังสัตว์ปกติที่ไม่เป็นโรคได้ โรคพิษสุนัขบ้ามักจะพบในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่เดือน มีนาคม – มิถุนายน ของทุกปี สามารถควบคุมป้องกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้เมื่อมีอาการของโรค การป้องกันที่ดี คือ การระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัดหรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมวและสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าซึ่ง นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า จากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค 506 ปีพ.ศ. 2561 - 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วย 34 ราย (ปี 2566 พบ 5 ราย) เสียชีวิตทั้ง 34 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 ข้อมูลปี 2561 - 2566 พบผู้ป่วย 6 ราย (ปี 2566 พบ 1 ราย)เสียชีวิตทั้ง 6 ราย เป็นเพศชายทั้งหมด อายุระหว่าง 16 - 65 ปี โดยมีประวัติโดนสุนัขของตนเองและสุนัขไม่มีเจ้าของกัด ผู้เสียชีวิตไม่ฉีดวัคซีนหลังโดนสุนัขกัด และข้อมูลจากนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 16 กันยายน 2567 ว่ามีการส่งตัวอย่างส่งตรวจสะสมปี 2567 จำนวน 4615 ตัวอย่าง ผลบวกสะสมจำนวน 225 ตัวอย่าง ชนิดสัตว์ที่เกิดโรค แบ่งเป็นสุนัข 193 โค 21 แมว 7 กระบือ 4 โดยมีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 10 จังหวัด 16 จุด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี นครนายก บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ เชียงราย อุตรดิตถ์ พัทลุง และสงขลา
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานอบรมและรณรงค์ให้ความรู้ให้แก่นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ ในเรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนที่มีสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีอยู่ในความดูแล หันมาตระหนักถึงปัญหาของโรคดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนลดความเสี่ยงของการถูกสุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้และมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป ด้วยเหตุนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงกำหนดจัดกิจกรรมโครงการรักน้องๆห่างไกลโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี 2568 นี้ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/03/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักรับทราบถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างถูกวิธีปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า