2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายลดลง จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มอาการที่เป็นปัญหาเฉพาะหรือพบบ่อยในสูงอายุุ (Gerriatric Giant) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการชราภาพของร่างกาย ผลข้างเคียงจากยาต่างๆและหลากหลายโรคที่มารุมเร้า ส่งผลต่อสุขภาพและการดูแลตนเองที่ถดถอยลง กลุ่มอาการแสดง 8 กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีดังนี้ 1)ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เป็นอาการที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะกลืนลำบาก ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น 2)ปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ทำให้คุณภาพการนอนลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย หรืออาจมีสาเหตุจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล อาการปวดต่างๆ หรือกรดไลย้อน 3)ภาวะสมองเสื่อม หากมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม 4)ภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนล้า กระเพาะปัสสาวะอ่อนไหวเกินไป ความบกพร่องในการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายจากสมองหรือเส้นประสาท เป็นต้น 5)ปัญหาในการทรงตัวและการหกล้ม มีปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง โรคทางสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน หรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น 6)อาการมึนงงเวียนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว (น้ำในหูไม่สมดุล) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง เป็นต้น 7)ปัญหาการมองเห็นและได้ยิน อาจเป็นผลมาจากโรคเบาหวาน ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม 8)ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากการบางลงของเนื้อกระดูก ทำให้เปราะบาง หักหรือยุบง่ายซึ่งส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนและผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี โดยทั่วไปมักไม่แสดงอาการใดๆ มีสาเหตุเกิดจากสภาวะวัยทอง ขาดฮอร์โมนเพศหญิงหรือเพศชาย การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอในวัยหนุ่มสาว การรับประทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
พื้นที่รับผิดชอบรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ซึ่งมีจำนวนประชากรในพื้นที่ทั้งหมด 2784 มีผู้สูงอายุจำนวน 885 คน คิดเป็นร้อยละ 31.78 ของประชากรทั้งหมดในชุมชน และ จาการสำรวจข้อมูลภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการแสดงตามกลุ่มอาการดังกล่าวอาการใดอาการหนึ่ง หรือมากกว่า 1 อาการ จำนวน คิดเป็นร้อยละของผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน ซึ่งหากผู้สูงอายุมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจะมีผลทำให้มีอาการมากขึ้นและเป็นผลให้เกิดโรคที่ไม่พึงประสงค์ตามมาได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?- ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล สามารถดูแลสุขภาพ เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันภาวะถดถอยได้
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาร้อยละ 100