โครงการผู้สูงวัย ปลอดภัย ปลอดโรค
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงวัย ปลอดภัย ปลอดโรค |
รหัสโครงการ | 68-50105-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,960.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุไร สงนุ้ย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน) | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายลดลง จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มอาการที่เป็นปัญหาเฉพาะหรือพบบ่อยในสูงอายุุ (Gerriatric Giant) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการชราภาพของร่างกาย ผลข้างเคียงจากยาต่างๆและหลากหลายโรคที่มารุมเร้า ส่งผลต่อสุขภาพและการดูแลตนเองที่ถดถอยลง กลุ่มอาการแสดง 8 กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีดังนี้ 1)ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เป็นอาการที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะกลืนลำบาก ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น 2)ปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ทำให้คุณภาพการนอนลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย หรืออาจมีสาเหตุจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล อาการปวดต่างๆ หรือกรดไลย้อน 3)ภาวะสมองเสื่อม หากมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม 4)ภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนล้า กระเพาะปัสสาวะอ่อนไหวเกินไป ความบกพร่องในการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายจากสมองหรือเส้นประสาท เป็นต้น 5)ปัญหาในการทรงตัวและการหกล้ม มีปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง โรคทางสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน หรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น 6)อาการมึนงงเวียนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว (น้ำในหูไม่สมดุล) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง เป็นต้น 7)ปัญหาการมองเห็นและได้ยิน อาจเป็นผลมาจากโรคเบาหวาน ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม 8)ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากการบางลงของเนื้อกระดูก ทำให้เปราะบาง หักหรือยุบง่ายซึ่งส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนและผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี โดยทั่วไปมักไม่แสดงอาการใดๆ มีสาเหตุเกิดจากสภาวะวัยทอง ขาดฮอร์โมนเพศหญิงหรือเพศชาย การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอในวัยหนุ่มสาว การรับประทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน พื้นที่รับผิดชอบรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ซึ่งมีจำนวนประชากรในพื้นที่ทั้งหมด 2784 มีผู้สูงอายุจำนวน 885 คน คิดเป็นร้อยละ 31.78 ของประชากรทั้งหมดในชุมชน และ จาการสำรวจข้อมูลภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการแสดงตามกลุ่มอาการดังกล่าวอาการใดอาการหนึ่ง หรือมากกว่า 1 อาการ จำนวน คิดเป็นร้อยละของผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน ซึ่งหากผู้สูงอายุมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจะมีผลทำให้มีอาการมากขึ้นและเป็นผลให้เกิดโรคที่ไม่พึงประสงค์ตามมาได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะถดถอยในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุผู้ดูแลและครอบครัวมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะถดถอยในผู้สูงอายุร้อยละ 80 |
70.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ร้อยละ 90 |
85.00 | 90.00 |
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลและส่งต่อ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อร้อยละ 100 |
90.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,960.00 | 0 | 0.00 | 10,960.00 | |
1 - 31 มี.ค. 68 | เยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยง | 0 | 0.00 | - | - | ||
7 เม.ย. 68 | จัดประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ | 0 | 0.00 | - | - | ||
3 มิ.ย. 68 | คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน และอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ด้านสุขภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะถดถอยในผู้สูงอายุ | 0 | 10,960.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 10,960.00 | 0 | 0.00 | 10,960.00 |
- ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล สามารถดูแลสุขภาพ เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันภาวะถดถอยได้
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาร้อยละ 100
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2567 16:23 น.