กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในชุมชน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านหัวถนน

1.นางอุไร สงนุ้ย
2.นางปาริชาต อ่อนประเสริฐ
3.นางโสภักดิ์ดี ณ พัทลุง
4.นางสาวยุวดี เกื้อรุ่ง
5.นางจำเรียง แก้วมาก

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ 1,2,4,5,6,9,10,11,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

5.00

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาดและนอกจากนี้อาหารยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการคัดเลือกวัตถุดิบมาจำหน่าย จากการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ประจำปีงบประมาณ 2567 พบสารปนเปื้อน(ยาฆ่าแมลง)ในผักคะน้า จำนวน 1 ร้าน (ร้านชำทั้งหมด 19 ร้าน) จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการส่งตรวจสารปนเปื้อนอาหาร ส่งตรวจได้เฉพาะสิ่งส่งตรวจที่สุ่มได้ ทำให้ไม่คลอบคลุม ดังนั้นเพื่อให้สถานประกอบการได้รับการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารได้อย่างคลอบคลุมและหลากหลายประเภทอาหาร จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงจัดทำโครงการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในชุมชนขึ้น เพื่อให้สถานประกอบการ(ร้านชำ) ได้รับการตรวจสอบคุณภาพอาหารได้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความครอบคลุม เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่วางจำหน่ายในชุมชน

ร้อยละของสถานประกอบการอาหารในชุมชน ได้รับการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร

0.00 80.00
2 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

0.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดทดสอบอาหารเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดทดสอบอาหารเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดทดสอบอาหารเบื้องต้น (Test kit) แก่แกนนำ อสม.
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x2.0ม. เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 52 คนจำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
- ค่าอาหารผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 52 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 3,640 บาท
- ค่าเอกสาร วัสดุสำนักงานสำหรับบันทึกการตรวจ จำนวน 50 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าชุดตรวจอาหาร
1.ชุดทดสอบฟอร์มาลีน จำนวน 10 ชุดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2.ชุดทดสอบบอร์แรกซ์ จำนวน 1 ชุดๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
3.ชุดทดสอบสากรดซาลิซิลิค จำนวน 1 ชุดๆละ 800 บาท เป็นนเงิน 800 บาท
4.ชุดทดอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ จำนวน 1 ชุดๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5.ชุดทดสอบโพล่าในน้ำมัน จำนวน 1 ชุดๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
6.ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง จำนวน 1 ชุดๆละ 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤษภาคม 2568 ถึง 6 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมร้อยละ 80
ผลลัพธ์
กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สามารถใช้เครื่องทดสอบอาหารเบื้องต้นได้ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19140.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพอาหารในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสอบคุณภาพอาหารในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารในชุมชน
- สุ่มตรวจคุณภาพอาหารในสถานประกอบการ(ร้านชำ)ที่จำหน่ายอาหาร
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ร้อยละ 80 ของสถานประกอบการ(ร้านชำ)ที่จำหน่ายวัตถุดิบประกอบอาหารได้รับการสุ่มตรวจการปนเปื้อนในอาหาร
ผลลัพธ์
ร้อยละ 90 ของวัตถุดิบประกอบปาหารที่วางจำหน่ายในชุมชนปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลการสุ่มตรวจอาหารในชุมชน และให้คำแนะนำสถานประกอบการ (ร้านชำ)

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลการสุ่มตรวจอาหารในชุมชน และให้คำแนะนำสถานประกอบการ (ร้านชำ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายงานผลการสุ่มตรวจอาหารในชุมชน
1.แจ้งผลการตรวจให้ผู้ประกอบการทราบ ให้คำแนะนำในการเลือกวัสดุดิบมาจำหน่าย
2.สถานประกอบการ(ร้านชำ)ที่พบสารปนเปื้อนในอาหาร ให้คำแนะนำในการเลือกวัสดุดิบมาจำหน่าย ตรวจประเมินซ้ำทุก 6เดือน (ปีละ 1 ครั้ง กรณีไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร)

ไม่ค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 1 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
สถานประกอบการได้รับทราบผลการสุ่มตรวจอาหารร้อยละ 100
ผลลัพธ์
สถานประกอบการพบการปนเปื้อนในอาหารลดลงจากเดิมร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลการสุ่มตรวจอาหารในสถานประกอบการ(ร้านชำ)

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการสุ่มตรวจอาหารในสถานประกอบการ(ร้านชำ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สรุปผลการสุ่มตรวจอาหาร คีนข้อมูลให้ชุมชน
2.มอบเกียรติบัตรให้สถานประกอบการ(ร้านชำ)ที่ไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร เพื่อเป็นร้านต้นแบบในชุมชน
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เกิดสถานประกอบการ(ร้านชำ) ต้นแบบในชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง
ผลลัพธ์
ชุมชนมีสถานประกอบการ(ร้านชำ)ที่จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

วัตถุดิบที่วางจำหน่ายในชุมชนได้รับการตรวจ เฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน


>