กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในชุมชน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-50105-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร สงนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาดและนอกจากนี้อาหารยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการคัดเลือกวัตถุดิบมาจำหน่าย จากการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ประจำปีงบประมาณ 2567 พบสารปนเปื้อน(ยาฆ่าแมลง)ในผักคะน้า จำนวน 1 ร้าน (ร้านชำทั้งหมด 19 ร้าน) จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการส่งตรวจสารปนเปื้อนอาหาร ส่งตรวจได้เฉพาะสิ่งส่งตรวจที่สุ่มได้ ทำให้ไม่คลอบคลุม ดังนั้นเพื่อให้สถานประกอบการได้รับการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารได้อย่างคลอบคลุมและหลากหลายประเภทอาหาร จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงจัดทำโครงการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในชุมชนขึ้น เพื่อให้สถานประกอบการ(ร้านชำ) ได้รับการตรวจสอบคุณภาพอาหารได้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความครอบคลุม เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่วางจำหน่ายในชุมชน

ร้อยละของสถานประกอบการอาหารในชุมชน ได้รับการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร

0.00 80.00
2 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

0.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,140.00 4 19,140.00 0.00
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 ตรวจสอบคุณภาพอาหารในชุมชน 0 0.00 0.00 0.00
6 พ.ค. 68 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดทดสอบอาหารเบื้องต้น 0 19,140.00 19,140.00 0.00
1 ส.ค. 68 รายงานผลการสุ่มตรวจอาหารในชุมชน และให้คำแนะนำสถานประกอบการ (ร้านชำ) 0 0.00 0.00 0.00
1 - 31 ส.ค. 68 ประเมินผลการสุ่มตรวจอาหารในสถานประกอบการ(ร้านชำ) 0 0.00 0.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 19,140.00 4 19,140.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

วัตถุดิบที่วางจำหน่ายในชุมชนได้รับการตรวจ เฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2567 16:24 น.