กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพลัง อึด ฮึด สู้ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางพนิดาวรรณวงศ์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โทร 066-0940294
นางดาวดือราโอ๊ะ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการโทร 089-9760969
นางมัสนีและ ตำแหน่งนักจิตวิทยาชำนาญการโทร 086-9621377

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพบว่าการเปลี่ยนแปลงและความเจริญทางด้านวัตถุ สังคม และเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วความสัมพันธ์ในครอบครัว ชุมชน ลดน้อยลง ประกอบกับภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะภัยพิบัติน้ำมือมนุษย์หรือภัยธรรมชาติ การคมนาคม หรือชีวิตประจำวันที่ต้องเร่งรีบส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำ หากไม่สามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตระยะยาวและทำให้เกิดโรคทางจิตเวชได้ เช่น โรคเครียด โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าหากได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ที่ถูกต้อง จะทำให้การดำเนินของโรคดีขึ้นแต่หากไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือที่ถูกต้องส่งผลให้ผู้ป่วยทำร้ายตัวเองสำเร็จได้
จากการให้บริการคลินิกจิตเวช พบว่า ผู้มารับบริการที่มาด้วยโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่ในปี 2565-2567 ดังนี้ปี 2565 มีจำนวน 357 คน (รายใหม่ 143 คน) (สุไหงโก-ลก 149 คน) , ปี 2566 มีจำนวน 393 คน (รายใหม่ 182 คน) (สุไหงโก-ลก 156 คน) และในปี 2567 มีจำนวน 434 คน (รายใหม่ 224 คน) (สุไหงโก-ลก 161 คน) ตามลำดับส่วนในผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ในปี 2565-2567 ดังนี้ปี 2565 มีจำนวน 60 คน (รายใหม่ 33 คน) (สุไหงโก-ลก 18 คน) , ปี 2566 มีจำนวน 110 คน (รายใหม่ 52 คน) (สุไหงโก-ลก 40 คน) และในปี 2567 มีจำนวน 120 คน (รายใหม่ 48 คน) (สุไหงโก-ลก 38 คน) ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง โรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยและญาติ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

40.00 70.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำภายใน 1 ปี

เพื่อให้ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำภายใน 1 ปีมากกว่าร้อยละ 90

50.00 90.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยซึมเศร้าได้รับการประเมินซึมเศร้ามีระดับคะแนนดีขึ้นในช่วง 6/12 ปี

ผู้ป่วยซึมเศร้าได้รับการประเมินซึมเศร้ามีระดับคะแนนดีขึ้นในช่วง 6/12 ปี มากกว่าร้อยละ 50

30.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยซึมเศร้าผู้ใหญ่และผู้ดูแล 50
เจ้าหน้าที่ทีมผู้จัดและเครือข่าย 20
เจ้าหน้าที่ทีมผู้จัดและเครือข่ายรุ่นละ 10 คน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพจิตในเรื่องโรคซึมเศร้า ฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายความเครียด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพจิตในเรื่องโรคซึมเศร้า ฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยซึมเศร้าผู้ใหญ่และวัยรุ่นรวมญาติผู้ดูแล จำนวน 100 คน ทีมผู้จัดและเครือข่าย 20 คน (10 คน/1 รุ่น)
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง
1.2 จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
3. ขั้นดำเนินการ
3.1 แบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 60 คน (กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ทีมผู้จัดและเครือข่าย 10คน
3.2 ทดสอบก่อนและหลังให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพจิต
3.3 ให้ความรู้ในเรื่องภาวะสุขภาพจิตในเรื่องโรคซึมเศร้า การเสริมพลังชีวิตให้กับตัวเอง การจัดการความเครียด
3.4 ประเมินตนเองเบื้องต้นโดยใช้แบบคัดกรองซึมเศร้า
3.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการช่วยเหลือ
3.6 สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
กำหนดการ
เวลา 08.00 - 08.30 น.ลงทะเบียน/ทำแบบประเมินความรู้และคัดกรองภาวะซึมเศร้าก่อนเข้าอบรม
เวลา 08.30 - 09.00 น.พิธีเปิด โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
เวลา 09.00 - 12.00 น.อบรมหัวข้อมาเรียนรู้และเข้าใจโรคซึมเศร้า แค่ฮิตหรือแค่คิดไปเอง โดยนายแพทย์สิทธิกรปรีชาวุฒิเดช
เวลา 12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหาร
เวลา 13.00 - 14.30 น.อบรมหัวข้อ สัญญาณอันตรายของโรคซึมเศร้า โดยนายแพทย์สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช
เวลา 14.30 - 16.00 น.อบรมหัวข้อ โรคซึมเศร้าอาการที่ควรเฝ้าระวังไว้/การเสริมสร้างพลังใจด้วยตัวเอง โดย นายแพทย์สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช
เวลา 16.00 - 16.30 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งซักถามข้อสงสัย/ทำแบบประเมินหลังการอบรมโดยนายแพทย์สิทธิกรปรีชาวุฒิเดช
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 60 คน x 2 มื้อ X 2 รุ่น = 7,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 60 คน x 1 มื้อ x 2 รุ่น = 7,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ช.ม. x 2 รุ่น = 7,200 บาท
4. ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดโครงการ ได้แก่ กระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา กระดาษ เป็นต้น = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม มากยิ่งขึ้น ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถดูแล ช่วยเหลือ  ดำเนินชีวิตได้ปกติอย่างมีความสุข ได้อย่างเหมาะสมร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยและญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง โรคซึมเศร้า
2. ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำภายใน 1 ปี
3. ผู้ป่วยซึมเศร้าได้รับการประเมินซึมเศร้ามีระดับคะแนนดีขึ้นในช่วง 6/12 ปี


>