แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นายพิทักศิษย์ พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตีสิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
นางสาวพนิดารัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ภาวะโลหิตจางหรือภาวะซีด (anemia) เป็นภาวะที่มีการลดลงของปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด (red cell mass) หรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin concentration) ต่ำกว่าค่าของคนปกติ องค์การอนามัยโลกได้กําหนดไว้ว่าเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี ที่มีระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/dL หรือค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) น้อยกว่าร้อยละ 31.00 และสําหรับเด็กอายุ 6-14 ปี ที่มีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 12 g/dL หรือค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น น้อยกว่าร้อยละ 31.50 ถือว่ามีภาวะซีด เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี เป็นเด็กวัยเรียนที่ศึกษาอยู่ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ของโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งของภาครัฐและเอกชน การจัดการภาวะซีดในเด็กเป็นหน้าที่ของสถานพยาบาล ภาครัฐกับโรงเรียนในพื้นที่ในการรับผิดชอบดําเนินการของแต่ละแห่ง เนื่องจากหากเด็กมีภาวะซีดจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว ทําให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะสุขภาพ เช่น เจ็บป่วยบ่อย เซื่องซึม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย และติดเชื้อได้ง่าย ทั้งนี้ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการขนส่งและนําออกชิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้มีการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ที่เหมาะสม
จากการเฝ้าระวังภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีอัตราความชุกของภาวะซีดถึงร้อยละ 30.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 20 ของประชากรเด็กวัยเรียนในระดับประถมศึกษา และมีเด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้งร้อยละ 38.21 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ว่าต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนโดยต้องได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 50 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีการดำเนินการคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียนทุกปี โดยผลการคัดกรองปี 2565-2567 พบว่ามีเด็กนักเรียนชั้น ป.1 มีผล Hct ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 7.4, 2.5 และ 6.1 ตามลำดับ ซึ่งไม่ได้เกินเกณฑ์เป้าหมายของกรมอามัยกำหนดไว้ (เกณฑ์เป้าหมายนักเรียนชั้น ป.1มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 20 (ข้อมูลเฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2568)) ดังนั้น การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก (จ่ายเพิ่มเติม) จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
-
1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1-6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กตัวชี้วัด : ร้อยละของจำนวนเด็กนักเรียนชั้น ป.1-6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 80.00
-
2. เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางตัวชี้วัด : ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายของเด็กนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
- 1. เด็กไทย ไม่ซีดรายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1-4 ชั้น ป.1 ทั้งหมดและนักเรียนชั้น ป.2-6 จำนวนร้อยละ 10 ของนักเรียนชั้น ป.2-6 ทั้งหมด จำนวน 500 คน
- คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวม 510 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประสานความร่วมมือกับโรงเรียน กำหนดนัดหมายแผนปฏิบัติการลงคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมาย
2. จนท.สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเครือข่ายออกดำเนินการที่โรงเรียน เพื่อตรวจคัดกรองโลหิตจางนักเรียนตามแผน
3. ให้นักเรียนได้รับบริการยาเสริมธาตุเหล็ก และรับการรักษาหากมีภาวะโลหิตจาง
4. สรุปและติดตามผลการดำเนินงาน และสรุปผลโครงการ
งบประมาณ
1. เครื่องอ่านค่าฮีโมโกลบิน (ประกอบด้วย เครื่องอ่านค่า 1 เครื่อง,ปากกาเสียบเข็มเจาะปลายนิ้ว 1 ตัว,เข็มเจาะปลายนิ้ว 100 อัน,สตริป 100 อัน) ชุดละ 9,400 บาท x 2 เครื่องเป็นเงิน 18,800 บาท
2. สตริป + เข็มเจาะปลายนิ้ว (100 อัน/ชุด) 2,500 บาท x 4 ชุด เป็นเงิน 10,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) 30 บาท x 10 คน x 1 มื้อ x 4 โรงเรียน เป็นเงิน 1,200 บาท
หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการงบประมาณ 30,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
โรงเรียนในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รวมงบประมาณโครงการ 30,000.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
- เด็กนักเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก
- เด็กนักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางเพื่อพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................