กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์ พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตีสิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
นางสาวพนิดารัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงเรียนในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโลหิตจางหรือภาวะซีด (anemia) เป็นภาวะที่มีการลดลงของปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด (red cell mass) หรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin concentration) ต่ำกว่าค่าของคนปกติ องค์การอนามัยโลกได้กําหนดไว้ว่าเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี ที่มีระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/dL หรือค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) น้อยกว่าร้อยละ 31.00 และสําหรับเด็กอายุ 6-14 ปี ที่มีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 12 g/dL หรือค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น น้อยกว่าร้อยละ 31.50 ถือว่ามีภาวะซีด เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี เป็นเด็กวัยเรียนที่ศึกษาอยู่ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ของโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งของภาครัฐและเอกชน การจัดการภาวะซีดในเด็กเป็นหน้าที่ของสถานพยาบาล ภาครัฐกับโรงเรียนในพื้นที่ในการรับผิดชอบดําเนินการของแต่ละแห่ง เนื่องจากหากเด็กมีภาวะซีดจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว ทําให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะสุขภาพ เช่น เจ็บป่วยบ่อย เซื่องซึม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย และติดเชื้อได้ง่าย ทั้งนี้ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการขนส่งและนําออกชิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้มีการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ที่เหมาะสม
จากการเฝ้าระวังภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีอัตราความชุกของภาวะซีดถึงร้อยละ 30.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 20 ของประชากรเด็กวัยเรียนในระดับประถมศึกษา และมีเด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้งร้อยละ 38.21 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ว่าต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนโดยต้องได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 50 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีการดำเนินการคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียนทุกปี โดยผลการคัดกรองปี 2565-2567 พบว่ามีเด็กนักเรียนชั้น ป.1 มีผล Hct ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 7.4, 2.5 และ 6.1 ตามลำดับ ซึ่งไม่ได้เกินเกณฑ์เป้าหมายของกรมอามัยกำหนดไว้ (เกณฑ์เป้าหมายนักเรียนชั้น ป.1มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 20 (ข้อมูลเฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2568)) ดังนั้น การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก (จ่ายเพิ่มเติม) จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1-6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก

ร้อยละของจำนวนเด็กนักเรียนชั้น ป.1-6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก

40.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจาง

ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายของเด็กนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจาง

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เด็กไทย ไม่ซีด

ชื่อกิจกรรม
เด็กไทย ไม่ซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1-4 ชั้น ป.1 ทั้งหมดและนักเรียนชั้น ป.2-6 จำนวนร้อยละ 10 ของนักเรียนชั้น ป.2-6 ทั้งหมด จำนวน 500 คน
- คณะทำงาน จำนวน 10 คน
รวม 510 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประสานความร่วมมือกับโรงเรียน กำหนดนัดหมายแผนปฏิบัติการลงคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมาย
2. จนท.สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเครือข่ายออกดำเนินการที่โรงเรียน เพื่อตรวจคัดกรองโลหิตจางนักเรียนตามแผน
3. ให้นักเรียนได้รับบริการยาเสริมธาตุเหล็ก และรับการรักษาหากมีภาวะโลหิตจาง
4. สรุปและติดตามผลการดำเนินงาน และสรุปผลโครงการ
งบประมาณ
1. เครื่องอ่านค่าฮีโมโกลบิน (ประกอบด้วย เครื่องอ่านค่า 1 เครื่อง,ปากกาเสียบเข็มเจาะปลายนิ้ว 1 ตัว,เข็มเจาะปลายนิ้ว 100 อัน,สตริป 100 อัน) ชุดละ 9,400 บาท x 2 เครื่องเป็นเงิน 18,800 บาท
2. สตริป + เข็มเจาะปลายนิ้ว (100 อัน/ชุด) 2,500 บาท x 4 ชุด เป็นเงิน 10,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) 30 บาท x 10 คน x 1 มื้อ x 4 โรงเรียน เป็นเงิน 1,200 บาท
หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก
2. เด็กนักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางเพื่อพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย


>