โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-38 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 30 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพนิดา รัตนสุริยา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางหรือภาวะซีด (anemia) เป็นภาวะที่มีการลดลงของปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด (red cell mass) หรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin concentration) ต่ำกว่าค่าของคนปกติ องค์การอนามัยโลกได้กําหนดไว้ว่าเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี ที่มีระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/dL หรือค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) น้อยกว่าร้อยละ 31.00 และสําหรับเด็กอายุ 6-14 ปี ที่มีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 12 g/dL หรือค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น น้อยกว่าร้อยละ 31.50 ถือว่ามีภาวะซีด เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี เป็นเด็กวัยเรียนที่ศึกษาอยู่ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ของโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งของภาครัฐและเอกชน การจัดการภาวะซีดในเด็กเป็นหน้าที่ของสถานพยาบาล ภาครัฐกับโรงเรียนในพื้นที่ในการรับผิดชอบดําเนินการของแต่ละแห่ง เนื่องจากหากเด็กมีภาวะซีดจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว ทําให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะสุขภาพ เช่น เจ็บป่วยบ่อย เซื่องซึม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย และติดเชื้อได้ง่าย ทั้งนี้ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการขนส่งและนําออกชิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้มีการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ที่เหมาะสม
จากการเฝ้าระวังภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีอัตราความชุกของภาวะซีดถึงร้อยละ 30.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 20 ของประชากรเด็กวัยเรียนในระดับประถมศึกษา และมีเด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้งร้อยละ 38.21 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ว่าต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนโดยต้องได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 50 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีการดำเนินการคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียนทุกปี โดยผลการคัดกรองปี 2565-2567 พบว่ามีเด็กนักเรียนชั้น ป.1 มีผล Hct ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 7.4, 2.5 และ 6.1 ตามลำดับ ซึ่งไม่ได้เกินเกณฑ์เป้าหมายของกรมอามัยกำหนดไว้ (เกณฑ์เป้าหมายนักเรียนชั้น ป.1มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 20 (ข้อมูลเฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2568)) ดังนั้น การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก (จ่ายเพิ่มเติม) จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1-6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละของจำนวนเด็กนักเรียนชั้น ป.1-6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก |
40.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจาง ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายของเด็กนักเรียนชั้น ป.1 - 6 ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจาง |
50.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | 30,000.00 | |
15 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | เด็กไทย ไม่ซีด | 0 | 30,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | 30,000.00 |
- เด็กนักเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก
- เด็กนักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางเพื่อพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2567 00:00 น.