กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกจากสเปรย์สมุนไพร ตะไคร้หอม ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว หมู่ 11

1.นางพวงทิพย์กล้าคง
2.นางอารีย์เรืองพุทธ
3.นางวรรดีวุ่นชุม
4 นางสาวอรสา เกื้อตุ้ง
5.นางรัชกรเรืองพุทธ

พื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นจากสถิติ 2 ปีย้อนหลัง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง ปี 2566 ผู้ป่วย23 ราย ,ปี 2567 ผู้ป่วย 50 ราย และถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมโดยเร็ว ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกจะติดต่อจากคนไข้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้โดยไปกัดคนอื่นต่อ และมียุงลายเป็นพาหะนำโรคในช่วงฤดูฝนยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มากขึ้นจากน้ำที่ขังตามที่ต่างๆ จึงสังเกตได้ว่าช่วงนี้ของทุกปีเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคสูง นอกจากยุงลายที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกแล้ว ยุงชนิดอื่นๆ ยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ เช่น ไข้สมองอักเสบ ไข้จับสั่น มาเลเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันยุงกัด ซึ่งมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่วิธีทางกายภาพ วิธีชีวภาพ และการใช้สารเคมี วิธีที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เอง และในการกำจัดยุงในบริเวณกว้างจะต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก สารเคมีเหล่านี้จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพิษทั้งต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมตามมา นอกจากนี้การใช้สารเคมีในระยะยาวยังทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมีอีกด้วย และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งของการใช้สารเคมีเกินความจำเป็นคือสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดอาการหายใจขัดข้อง หรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุงได้ ที่รู้จักและนิยมใช้กันคือ ตะไคร้หอม ที่นำมาผลิตสเปรย์กันยุง ซึ่งการนำตะไคร้หอมมาผลิตเป็นสมุนไพรไล่ยุงนอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีแล้วนั้นการใช้สมุนไพรยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว ม.11จึงได้จัดทำโครงการทำสเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุงป้องกันโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

50.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 14/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแกนนำสุขภาพเกี่ยวกับสมุนไพรตะไคร้หอม หมู่บ้านละ 4 คน ( รวม 60 คน)
- ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 x 2.40 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
กิจกรรมอบรม
07.30 - 08.00 ลงทะเบียน
08.00 -10.00 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
10.00 -10.30 พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 -12.00 สอนให้สมาชิกจัดทำสเปรย์สมุนไพรเพื่อนำไปทดลองใช้ในครัวเรือนที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
ให้สมาชิกสามารถนำไปพัฒนาใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรตะไคร้หอม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการจัดทำสเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอม ( โดยแกนนำสุขภาพ )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการจัดทำสเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอม ( โดยแกนนำสุขภาพ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการสาธิตการจัดทำสเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอม
ค่าสมุนไพร ประกอบด้วย
- ตะไคร้หอมสำหรับสาธิต 5 กกๆละ 200 = 1,000 บาท
- ตะไคร้หอมสำหรับส่งเสริมให้สมาชิกปลูกเพื่อต่อยอดการทำสมุนไพรป้องกันยุง จำนวน 5 กกๆละ 200 = 1,000 บาท
- เมลทอล 1 กกๆละ 1,500 = 1,500 บาท
- การบูร 1.5 กกๆ 600 = 900 บาท
- แอลกอฮอลล์ 90 % จำนวน 6 ลิตรๆ ละ 200 = 1,200 บาท
ค่าอุปกรณ์สาธิต ประกอบด้วย
- ขวดสเปรย์จำนวน 300 ขวดๆละ 10บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- โหลแก้วขนาด 10 ลิตรเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอมสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ผลการดำเนินงาน สเปรย์หอมไล่ยุง สามารถกำจัดยุงได้ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจ ร้อยละ 88.76 %
  • แกนนำสุขภาพและ อสม .สามารถทำเป็นแบบอย่าง หรือสอนให้ประชาชนทั่วไปในแต่ละหมู่บ้าน ผลิตใช้เองและสามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกได้
  • มีการขยายผลการใช้สเปรย์ตะไคร้หอม ไล่ยุงในชุมชนได้
  • ติดตามการปลูกสมุุนไพรของสมาชิกเพื่อต่อยอดวัตถุดิบและนำกลับมาใช้เองได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถนำ ไปพัฒนาใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตได้
2. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน
3. ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก


>