กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกจากสเปรย์สมุนไพร ตะไคร้หอม ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3312-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว หมู่ 11
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพวงทิพย์ กล้าคง , นางสาวอรสา เกื้อตุ้ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เขตเทศบาลตำบลโคกม่วง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นจากสถิติ 2 ปีย้อนหลัง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง ปี 2566 ผู้ป่วย23 ราย ,ปี 2567 ผู้ป่วย 50 ราย และถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมโดยเร็ว ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกจะติดต่อจากคนไข้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้โดยไปกัดคนอื่นต่อ และมียุงลายเป็นพาหะนำโรคในช่วงฤดูฝนยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มากขึ้นจากน้ำที่ขังตามที่ต่างๆ จึงสังเกตได้ว่าช่วงนี้ของทุกปีเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคสูง นอกจากยุงลายที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกแล้ว ยุงชนิดอื่นๆ ยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ เช่น ไข้สมองอักเสบ ไข้จับสั่น มาเลเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันยุงกัด ซึ่งมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่วิธีทางกายภาพ วิธีชีวภาพ และการใช้สารเคมี วิธีที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เอง และในการกำจัดยุงในบริเวณกว้างจะต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก สารเคมีเหล่านี้จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพิษทั้งต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมตามมา นอกจากนี้การใช้สารเคมีในระยะยาวยังทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมีอีกด้วย และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งของการใช้สารเคมีเกินความจำเป็นคือสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดอาการหายใจขัดข้อง หรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุงได้ ที่รู้จักและนิยมใช้กันคือ ตะไคร้หอม ที่นำมาผลิตสเปรย์กันยุง ซึ่งการนำตะไคร้หอมมาผลิตเป็นสมุนไพรไล่ยุงนอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีแล้วนั้นการใช้สมุนไพรยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มสมุนไพรบ้านทุ่งยาว ม.11จึงได้จัดทำโครงการทำสเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุงป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

50.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00 12,000.00
??/??/???? กิจกรรมประเมินผลโครงการ 0 0.00 - -
1 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพ 0 2,900.00 - -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมสาธิตการจัดทำสเปรย์สมุนไพรตะไคร้หอม ( โดยแกนนำสุขภาพ ) 0 9,100.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 12,000.00 0 0.00 12,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถนำ ไปพัฒนาใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตได้
  2. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน
  3. ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2567 20:23 น.