แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง รหัส กปท. L3312
อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราป่วยเพิ่มมากขึ้นและเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธ์ุที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้วการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมทั้งด้านอาหารโดยรับประทานอาหารรสเค็มมันหวานขาดการออกกำลังกายมาีความเครียดสูงเรื้อรังดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวซึ่งร้อยละ50ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่2สามารถป้องกันได้เบาหวานประเภทที่2ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากแต่ในปัจจุบันจะพบมากขึ้นในคนอายุน้อยลงสำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดสมองโรคไตเรื้อรังตาบอดปลายประสาทเสื่อมเกิดแผลเรื้อรังเป็นสาเหตุของการตัดเท้าซึ่งนำมาซึ่งความพิการและเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทองทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคฟื้นฟูสุขภาพและให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นในปี2567จำนวนประชากรกลุ่มอายุ35ปีขึ้นไปในเเขตรับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด1,684คนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน1,632รายคิดเป็นร้อยละ96.91ผลการคัดกรองพบเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน378รายคิดเป็นร้อยละ23.16กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน18รายคิดเป็นร้อยละ1.10และพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน4รายคิดเป็นร้อยละ0.25และกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด1,453รายได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน1,394รายคิดเป็นร้อยละ95.94พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง216รายคิดเป็นร้อยละ15.49กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง272รายคิดเป็นร้อยละ19.51และพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน11รายคิดเป็นร้อยละ0.79 หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตระหนักในการดูแลสุขภาพเข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพรวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมสามารถดูแลตนเองครอลครัวและชุมชนเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รวมทั้งเมื่อเกิดการเจ็บป่วยได้รับการดูแลตั้งแต่เริ่มแรกได้รับการค้นหาภาวะแทรกซ้อนจะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและชะลอความรุนแรงของโรคได้ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) จึงเป็นสิ่งสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายชาติคือ คนไทยห่างไกลกับโรค NCDs เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล โดยให้ผู้ป่วย ทำ Self-monitoring และบันทึกข้อมูลผ่าน Platform Analog และ Digital แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลจาก Platform และนำมา Counseling วางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้
-
1. ประชาชน35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด : ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงขนาดปัญหา 3000.00 เป้าหมาย 2400.00
-
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตัวชี้วัด : ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคขนาดปัญหา 500.00 เป้าหมาย 400.00
-
3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันได้ดีตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ40และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันได้ดีร้อยละ60ขนาดปัญหา 700.00 เป้าหมาย 350.00
-
4. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากปีที่ผ่านมาตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ20ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 6.00
-
5. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ชนิดที่ 2 เข้าสู่ระยะสงบตัวชี้วัด : ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู่ป่วยรายใหม่ขนาดปัญหา 3.00 เป้าหมาย 2.00
-
6. เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีตัวชี้วัด : Hb1C < 6.5 % โดยไม่ใช่ยาเบาหวานมากกว่า 3 เดือน ( ติดตาม ครบ 1 ปี )ขนาดปัญหา 3.00 เป้าหมาย 2.00
- 1. กิจกกรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมความพร้อมรายละเอียด
กิกรรมเตรียมความพร้อม
1.จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
2.เตรียมข้อมูล
3.ประสานงานหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องงบประมาณ 0.00 บาท - 2. กิจกรรมดำเนินงานรายละเอียด
กิจกรรมการดำเนินงาน
1. กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
- ไม่มีค่าใช้จ่าย
2. คัดกรองเบาหวานความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป รายหมู่บ้าน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำสุขภาพจำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน 2,250 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 2,000 แผ่นๆละ 50 สต. เป็นเงิน 1,000 บาท
3. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง/ติดตามเยี่ยมบ้าน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4. กิจกรรมกลุ่มผู้ป่วยติดตามเยี่ยมบ้าน/แจกอาหารตัวอย่างกลุ่มผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูง
- ค่าอาหารตัวอย่าง จำนวน 50 ชุดๆละ 300 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทงบประมาณ 22,550.00 บาท - 3. การติดตามประเมินผลรายละเอียด
1.ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยทุก3เดือน ทุก 5 หมู้บ้าน
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท
- เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
2.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้รับการขึ้นทะเบียน
3.ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อเข้ากระบวนการรักษาแบบ DM remission
- ให้ยืมเครื่องเจาะน้ำตาลเพื่อ SMBGทุก 1 เดือนงบประมาณ 22,500.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 14 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
เขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
รวมงบประมาณโครงการ 45,050.00 บาท
หมายเหตุ : **ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**
1.ประชาชนที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ทราบถึงสถานะสุขภาพของตนเองและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค
2.ประชาชนชนกลุ่มเสี่ยงมีได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถลดอัตราการเกิดโรค ในผู้ป่วยรายใหม่
3.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี
4.ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู่ป่วยรายใหม่
5.Hb1C < 6.5 % โดยไม่ใช่ยาเบาหวานมากกว่า 3 เดือน ( ติดตาม ครบ 1 ปี )
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง รหัส กปท. L3312
อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง รหัส กปท. L3312
อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................