กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง

ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้แก่ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีเด็กก่อนวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์ การขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กก่อนวัยเรียนถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรังในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและการให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง
จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือดเด็ก วัย 6 เดือน ถึง 1 ปี พบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา ได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด จำนวน 29 ราย พบภาวะซีดจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.59 ซึ่งเด็กดังกล่าวได้รับการรักษาโดยการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก และนัดตรวจซ้ำ พบผลเลือดปกติ ร้อยละ 87.50 ผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ รพ.รามันเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง เล็งเห็นความสำคัญของการคัดกรองภาวะซีด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง
  1. เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 95 จากลุ่มเป้าหมาย
0.00
2 2. เพื่อให้พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันภาวะซีดในเด็ก
  1. พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันภาวะซีดในเด็ก ร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อให้เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาส่งต่อที่ถูกต้อง

เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาส่งต่อ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมการอบรม มื้อละ 70 บาท x จำนวน 60 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 8,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมการอบรม มื้อละ 30 บาท x จำนวน 60 คน x 2 มื้อ x 2 รุ่นเป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x จำนวน 2 คน x 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 7,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองภาวะโลหิตจาง ด้วยการเจาะเลือดปลายนิ้ว เพื่อหาความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit)
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมการคัดกรองภาวะโลหิตจาง มื้อละ 30 บาท x จำนวน 120 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กก่อนวัยเรียนได้รับคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเจาะเลือดซ้ำภายใน 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเจาะเลือดซ้ำภายใน 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดปลายนิ้วครั้งที่ 2 หลังจากกินยาเสริมธาตุเหล็ก เพื่อติดตามภาวะซีด
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมการคัดกรองภาวะโลหิตจาง มื้อละ 30 บาท x จำนวน 120 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก
2.เด็กก่อนวัยเรียนได้รับคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก
3.เด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง ได้รับการรักษาส่งต่อที่ถูกต้อง


>