โครงการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กก่อนวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กก่อนวัยเรียน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนารีซา สะอิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้แก่ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีเด็กก่อนวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์ การขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กก่อนวัยเรียนถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรังในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและการให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือดเด็ก วัย 6 เดือน ถึง 1 ปี พบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา ได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด จำนวน 29 ราย พบภาวะซีดจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.59 ซึ่งเด็กดังกล่าวได้รับการรักษาโดยการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก และนัดตรวจซ้ำ พบผลเลือดปกติ ร้อยละ 87.50 ผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ รพ.รามันเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง เล็งเห็นความสำคัญของการคัดกรองภาวะซีด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันภาวะซีดในเด็ก
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาส่งต่อที่ถูกต้อง เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาส่งต่อ ร้อยละ 100 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 31 มี.ค. 68 | กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน | 0 | 22,800.00 | - | ||
1 - 30 เม.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กก่อนวัยเรียน | 0 | 3,600.00 | - | ||
1 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเจาะเลือดซ้ำภายใน 1 เดือน | 0 | 3,600.00 | - |
1.พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก 2.เด็กก่อนวัยเรียนได้รับคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก 3.เด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง ได้รับการรักษาส่งต่อที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2567 00:00 น.