กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการมีภาวะโภชนาการและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านปีใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านปีใหญ่

1. นายสุไลมานยังปากน้ำ
2. นางสาวรอฮันนี เจะเลาะผู้ ประสานงาน คนที่ 1 เบอร์โทร 093 -6529962
3. นางสาวกมลทิพย์คำทองผู้ประสานงาน คนที่ 2 เบอร์โทร 084 - 8558039
4. นายอุเซ็ง อิสแม
5. นางสาวยารีนา อารีหมาน

โรงเรียนบ้านปีใหญ่ ม.5 ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเด็กอ้วนที่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยศูนย์ฝ้าระวังและเตือนภัยพฤติกรรม สุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พบว่า ในปีพ.ศ. 2561-2565 มีเด็กอ้วนเพิ่ม ขึ้นปีละ 4 ล้านคน สอดคล้องกับสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กไทยในฐาน ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561-2565 พบเด็กอ้วน สูงกว่า ค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเด็กสูงสมส่วน ยังต่ำ กว่าค่าเป้าหมายและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และเด็กเตี้ยสูงกว่าค่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันภาวะ น้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นภัยคุกคามภาวะสุขภาพอนามัยของเด็กไทย ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนไปเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวมี ผลกระทบต่อการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหาร ที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโรคอาหารประเภทอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ กับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภท นี้จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีทันสมัย ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหว ร่างกาย น้อยลง เป็นสาเหตุทำ ให้เกิดโรคอ้วนซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกฝ่ายควร ใส่ใจและแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันอย่าง จริงจัง จากการสํารวจ ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทยพบว่าเด็กไทยทุก ๆ 5 คน ที่เป็นโรคอ้วน กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น
โรงเรียนบ้านปีใหญ่ ได้ให้ความตระหนักและใส่ใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนบุคลากรในโรงเรียนและ บริเวณชุมชนรอบ ข้าง ทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งการมีสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลที่ดีกับนักเรียน และโรงเรียนได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับสุขภาพของ นักเรียนมาตลอดส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไข ป้องกันให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีมีพัฒนาการที่สมวัย แม้ว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรม ที่แก้ไขเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนมาแล้ว แต่ ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไป โดยมีข้อมูลในปี 2566 มี นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ14.55 จากนักเรียนจำนวน 110 คน โดยจำแนกนักเรียนอ้วนจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 8.18และนักเรียนผอมจำนวน7 คน คิดเป็นร้อยละ 6.36 และในปี 2567 นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ จำนวน 23 คนคิดเป็นร้อยละ 20.53 จากนักเรียนทั้งหมด 112 คนโดยจำแนกเป็นนักเรียนอ้วน 13 คนคิดเป็นร้อยละ11.60นักเรียนผอม 10 คน คิดเป็นร้อยละ 8.92จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ว่านักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเพิ่มสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีนักเรียนที่อ้วน ผอม อยู่ นักเรียนกลุ่มนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และ ความมีวินัยในการบริโภคอาหาร และเลือกกินอาหาร ที่ไม่มีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกายและ มีสภาวะทางอารมณ์ที่ยังไม่เอื้อต่อ พัฒนาการ ด้านการเรียนรู้ ซึ่งหลัก 3 อ มีความ มี สำคัญและ จำเป็นอย่างมากในการ แก้ปัญหาเหล่านี้ให้ลดน้อยลงหรือหมดไปจึงจำเป็น อย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของ นักเรียน และเพื่อให้นักเรียนมีสุมีขภาพที่ดี
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงเรียนบ้านปีใหญ่ จึงได้จัดทำ โครงการ "ส่งเสริมการมีภาวะโภชนาการและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านปีใหญ่"ขึ้นมา เพื่อแก้ ปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและสุขภาพของ นักเรียน เพื่อให้ปัญหาสุขภาพของ นักเรียนโรงเรียนบ้านปีใหญ่ลดลงและหมดไปในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กที่มีภาวะโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมและแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  1. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการร้อยละ50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  2. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  3. นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 112
กลุ่มวัยทำงาน 33
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชื่อกิจกรรม ประชุมคณะทำงาน จำนวน 3 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและบุคลากร จำนวน 3 ครั้ง

1.ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการงบประมาณและกิจกรรม ปรึกษาหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ

2.ประชุมครั้งที่ 2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ปัญหาโภชนาการของนักเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข

3.ประชุมครั้งที่ 3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

กลุ่มเป้าหมาย

  • คณะคุณครู 13 คน

    งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 13 คน คนละ 3 มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน 1,365 บาท

  2. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ 3 ครั้ง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

    รวมเป็นเงิน 3,165 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 15 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3165.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างแกนนำ อสม.น้อยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำ อสม.น้อยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 2.1 คัดเลือกอสม. น้อยในโรงเรียน จำนวน 10 คน โดยคณะกรรมการ

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน 10คน

งบประมาณ

  • ไม่ใช้งบประมาณ

กิจกรรม 2.2 สร้างแกนนำ อสม.น้อยในโรงเรียนเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้

กำหนดการอบรม เรื่องบทบาทหน้าที่ อสม.น้อยในโรงเรียน

08.30 – 09.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม.น้อยในโรงเรียน

09.00 – 10.20 น. วิทยากรบรรยาย เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม.น้อยในโรงเรียน

10.20 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.10 น. วิทยากรบรรยาย เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม.น้อยในโรงเรียน (ต่อ)

12.10 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน อสม. น้อย จำนวน 10 คน
  • อสม บ้านปีใหญ่ จำนวน 15คน

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 36 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท

    • ค่าวัสดุการอบรม เช่น กระเป๋า แฟ้ม สมุด ปากกา เป็นเงิน 3,465 บาท

    รวมเป็นเงิน 6,525 บาท

กิจกรรม 2.3 แกนนำ อสม.น้อยร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการและน้ำหนักเกณฑ์โดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและบันทึกผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง
กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 23 คน

งบประมาณ

  • ค่าเอกสารบันทึกติดตามภาวะโภชนาการ จำนวน 23 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 920 บาท

  • เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล ชั่งน้ำหนักสูงสุดไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัม เครื่องละ 8,000 บาท จำนวน 1 เครื่อง รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

รวมเป็นเงิน 8,920 บาท

กิจกรรม 2.4 แกนนำ อสม.น้อยรายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบพร้อมทั้งลงเยี่ยมบ้านนักเรียนและแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ

กิจกรรม 2.5โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารคุณภาพให้กับนักเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 23 คน

งบประมาณ

  • ไม่ใช้งบประมาณ

งบประมาณทั้งหมด 15,445 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 ธันวาคม 2567 ถึง 27 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15445.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วย 3 อ ( อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์)

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วย 3 อ ( อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 3.1 ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ (ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม)

รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดี

  • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีทุพภาวะโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • ดูแลควบคุมการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์โดยเพิ่มและลดปริมาณอาหารตามกลุ่มที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีทุพโภชนาการจำนวน 10 คน

  • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 13 คน

  • ผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน 23 คน

  • แกนนำ อสม. จำนวน15 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรมและและผู้สังเกตการณ์จำนวน 81 คนๆละ 1 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 2,835 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.5 x 3.0 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 700 บาท

  • ค่าอุปกรณ์ในการอบรม เป็น เงิน 3,500 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น8,835บาท

กำหนดการอบรม

12.30 - 13.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม/ทำแบบทดสอบก่อนอบรม

13.00 - 14.45 น.วิทยากรบรรยาย เรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน

14.45 - 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

15.00 – 16.15 น. วิทยากรบรรยาย เรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

16.15 - 16.30 น. ซักถาม/ทำแบทดสอบหลังการอบรม

กิจกรรม 3.2 สร้างแกนนำนักเรียน เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกาย(บาสโลบ) และทำกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

-ให้นักเรียนทุกคนออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกาย ก่อนและหลังเลิกเรียนทุกวันโดยเน้นกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินเกณฑ์

กลุ่มเป้าหมาย

  • แกนนำ อสม.น้อย จำนวน 10 คน


    งบประมาณ

    -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 15 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 525 บาท

  • ค่าวัสดุการอบรม 560 บาท

    รวมเป็นเงิน 2,885 บาท

    กำหนดการ

    12.30 – 13.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม

    13.00 – 14.45 น. วิทยากรบรรยาย เรื่อง การออกำลังกายและวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

    14.45 – 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    15.00 – 16.15 น. วิทยากรบรรยาย เรื่อง การออกำลังกายและวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง (ต่อ)

    16.15 – 16.30 น.ซักถาม/แลกเปลี่ยน

กิจกรรมที่ 3.3 ส่งเสริมสภาวะที่ดี ทางด้านอารมณ์ ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

-จัดกิจกรรมเสริมสร้างสมาธิที่ดีให้กับนักเรียนเช่น นั่งสมาธิฟังนิทานเสียงตามสายบรรเลงในช่วงเวลาพักกลางวันหรือก่อนกลับบ้านเป็นเวลา 15 นาที ทุกวัน

  • จัดทำกิจกรรมทางกายที่เสริมสร้างสมาธิอื่นๆ เช่น งานประดิษฐ์ร้อยลูกปัด สร้างสรรค์งานศิลปะและการปลูกผักสวนครัว ปลูกดอกไม้ต้นไม้ในบริเวณโรงเรียน

    กลุ่มเป้าหมาย

    • นักเรียนทั่วไปจำนวน 87 คน

    • แกนนำ อสม.น้อย จำนวน 10 คน

    • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน 13 คน

    • นักเรียนที่มีทุพโภชนาการจำนวน 10 คน

    งบประมาณ

  • ค่าเมล็ดพันธ์ุไม้ดอก เป็นเงิน 1,500 บาท

    • ค่าเมล็ดพันธ์ผัก เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

รวมเป็นเงิน 14,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 ธันวาคม 2567 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14720.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล

  • ทำการสำรวจค่า BMI ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทุกๆเดือน เป็นเวลา 3 เดือน

  • สรุปข้อมูลสมุดบันทึกภาวะโภชนาการ โดย อสม.น้อย

  • ถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีทุพโภชนาการจำนวน 10 คน

    • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 13 คน

งบประมาณ

  • ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 ธันวาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินและถอดบทเรียนจากกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและถอดบทเรียนจากกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียนเขียนสะท้อนความรู็ที่ได้รับและร่วมถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมโครงการลงในกระดาษบรู๊ฟ

เป้าหมาย

-นักเรียนที่มีทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน

-นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 13 คน

-อสม น้อย จำนวน 10 คน

งบประมาณ

-ค่ากระดาษบรู๊ฟจำนวน 20 แผ่นเป็นเงิน 200บาท

-ค่าปากการเมจิก 2 แพ็คๆ ละ 120 บาทเป็นเงิน 240 บาท

-ค่าเทปเล็กซีน 5 ม้วล ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 125บาท

เป็นเงิน 565 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 13 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
565.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้2 ครั้ง

  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย

  • คณะทำงาน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่ม จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท รวมเป็นเงิน1,000บาท

  • ค่าเดินทางเข้าร่วม/เสนอโครงการ 2 คนๆละ 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 400 บาท

รวมเป็น 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 11 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,295.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
2.เด็กที่มีนำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
3. นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>