แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียดที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอรามัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มารับบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า40 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานพบภาวะแทรกซ้อน และยังพบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ3ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสามารถดูแลตนเอง ควบคุมโรคไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบือมัง มีประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2566 ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 210 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมดจำนวน 169 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.48 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 75 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 35.71 และผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงจำนวน 380 คน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 248 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.26 และประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2567 ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 224 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมดจำนวน 191 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.27 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 70 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 31.25 และผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงจำนวน 388 คน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 267 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.81 ซึ่งยังไม่ได้ผลงานตามเป้าหมายตัวชีวัด อีกทั้งยังมีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงป่วยเป็นโรค หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยได้จัดโครงการคนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคในกลุ่มป่วย
-
1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายจากโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 90 2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เรื่องภัยอันตรายจากโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 90.00
-
2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควมคุมระดับน้ำตาลได้ (ค่า DTX แบบงดอาหารน้อยกว่า 126 mg% และแบบไม่งดน้อยกว่า200mg%) ร้อยละ 40 2.กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ( ค่า BP น้อยกว่า 140/90) ร้อยละ 50ขนาดปัญหา เป้าหมาย 40.00
-
3. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่องตัวชี้วัด : 1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลังจากได้รับการเจาะเลือด ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 90.00
- 1. ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงานรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
-ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการและแต่งตั้งคณะทำงาน จากอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง จำนวน 68 คน และผู้จัดจำนวน 2 คน
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
งบประมาณ 2,100.00 บาท - 2. พัฒนาศักยภาพแกนนำในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
-อบรมให้ความรู้แก่คณะทำงานเพื่อทบทวนแนวทางการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยมี อสม.จำนวน 68 คน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จำนวน 2 คน
- ฝึกทักษะการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) ที่ถูกต้อง
งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
งบประมาณ 12,700.00 บาท - 3. อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
-ลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย แยกลงทะเบียนเป็นรายหมู่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มป่วยจำนวน 100 คน และกลุ่มเสี่ยง 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 100 คน
-ผู้เข้ารับการอบรมนั่งพักก่อนวัดความดันโลหิตอย่างน้อย ๑๕ นาที ก่อนเริ่มตรวจวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หา ดัชนีมวลกาย แจ้งผลให้ผู้เข้าร่วมอบรมทราบทันที จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไป
-อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การดูแลสุขภาพตัวเองตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 1 มื้อๆละ 70 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 14,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คน x 2 มื้อๆละ 30 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 12,000 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 รุ่นเป็นเงิน 7,200 บาทงบประมาณ 33,200.00 บาท - 4. ติดตามตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
-ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน วิธีการงดน้ำและอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง จำนวน 100 คน
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
งบประมาณ 3,000.00 บาท - 5. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
-ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน โดยชี้แจงคืนข้อมูลให้แก่คณะทำงาน จำนวน 70 คน
-คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6 คน หมู่ละ 1 คน x 6 หมู่
-คัดเลือกบุคคลต้นแบบด้านควบคุมโรคได้ดีในกลุ่มป่วยโรคความดันโลหตสูงและเบาหวาน จำนวน 6 คน หมู่ละ 1 คน x 6 หมู่
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 82 คน x 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน2,460 บาท
งบประมาณ 2,460.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ตำบลบือมัง
รวมงบประมาณโครงการ 53,460.00 บาท
1.มีคณะทำงานและแผนในการจัดเตรียมโครงการคนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2.คณะทำงานมีความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
3.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรค การป้องกันและการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
4.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในเรื่อง ๓ อ. ๒ ส.1ฟ 1 น
5.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
6.ตำบลบือมังมีกลุ่มเสี่ยงต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก3อ2ส หมู่ละ 1 คน
7.ตำบลบือมังมีกลุ่มป่วยต้นแบบที่สามารถควบคุมโรคได้ดี หมู่ละ 1 คน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง รหัส กปท. L4163
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................