2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียดที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอรามัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มารับบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า40 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานพบภาวะแทรกซ้อน และยังพบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ3ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสามารถดูแลตนเอง ควบคุมโรคไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบือมัง มีประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2566 ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 210 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมดจำนวน 169 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.48 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 75 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 35.71 และผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงจำนวน 380 คน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 248 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.26 และประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2567 ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 224 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมดจำนวน 191 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.27 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 70 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 31.25 และผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงจำนวน 388 คน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 267 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.81 ซึ่งยังไม่ได้ผลงานตามเป้าหมายตัวชีวัด อีกทั้งยังมีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงป่วยเป็นโรค หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยได้จัดโครงการคนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคในกลุ่มป่วย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.มีคณะทำงานและแผนในการจัดเตรียมโครงการคนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2.คณะทำงานมีความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
3.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรค การป้องกันและการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
4.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในเรื่อง ๓ อ. ๒ ส.1ฟ 1 น
5.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
6.ตำบลบือมังมีกลุ่มเสี่ยงต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก3อ2ส หมู่ละ 1 คน
7.ตำบลบือมังมีกลุ่มป่วยต้นแบบที่สามารถควบคุมโรคได้ดี หมู่ละ 1 คน