คนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ชื่อโครงการ | คนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 53,460.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวไซนะ เซ็งดี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ปีงบ 2566 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 210 คน ควบคุมโรคได้ดี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71 ปีงบ 2567 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 224 คน ควบคุมโรคได้ดี จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 |
40.00 | ||
2 | ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ปีงบ 2566 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 499 คน ควบคุมได้ดี จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 53.51 ปีงบ 2567 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 517 คน ควบคุมได้ดี จำนวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 51.84 |
60.00 | ||
3 | ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปีงบ 2566 กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 104 คน ได้รับการติดตาม จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 95.19 ปีงบ 2567 กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 126 คน ได้รับการติดตาม จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 100 |
85.00 | ||
4 | ร้อยละของประชากรกลุ่มPre-DM (ภาวะก่อนเบาหวาน) ในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำ ปีงบ 2566 ร้อยละของประชากรกลุ่มPre-DM (ภาวะก่อนเบาหวาน) ในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมา จำนวน 230 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำ 224 คน คิดเป็นร้อยละ 97.39 ปีงบ 2567ร้อยละของประชากรกลุ่มPre-DM (ภาวะก่อนเบาหวาน) ในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมา จำนวน 382 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำ 380 คน คิดเป็นร้อยละ 99.48 |
90.00 | ||
5 | ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือและเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต ปีงบ 2566 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือและเบาหวาน จำนวน 380 คน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 65.26 ปีงบ 2567 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือและเบาหวาน จำนวน 388 คน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 68.81 |
80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียดที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอรามัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มารับบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า40 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานพบภาวะแทรกซ้อน และยังพบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ3ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสามารถดูแลตนเอง ควบคุมโรคไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบือมัง มีประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2566 ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 210 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมดจำนวน 169 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.48 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 75 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 35.71 และผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงจำนวน 380 คน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 248 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.26 และประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2567 ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 224 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมดจำนวน 191 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.27 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 70 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 31.25 และผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงจำนวน 388 คน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 267 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.81 ซึ่งยังไม่ได้ผลงานตามเป้าหมายตัวชีวัด อีกทั้งยังมีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงป่วยเป็นโรค หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยได้จัดโครงการคนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคในกลุ่มป่วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายจากโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 90 2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เรื่องภัยอันตรายจากโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 90 |
90.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ 1.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควมคุมระดับน้ำตาลได้ (ค่า DTX แบบงดอาหารน้อยกว่า 126 mg% และแบบไม่งดน้อยกว่า200mg%) ร้อยละ 40 2.กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ( ค่า BP น้อยกว่า 140/90) ร้อยละ 50 |
40.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่อง 1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลังจากได้รับการเจาะเลือด ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ90 |
90.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 53,460.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน | 0 | 2,100.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | พัฒนาศักยภาพแกนนำในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน | 0 | 12,700.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน | 0 | 33,200.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน | 0 | 3,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบ | 0 | 2,460.00 | - |
1.มีคณะทำงานและแผนในการจัดเตรียมโครงการคนบือมังรู้เท่าทันภัยอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2.คณะทำงานมีความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
3.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรค การป้องกันและการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
4.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในเรื่อง ๓ อ. ๒ ส.1ฟ 1 น
5.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
6.ตำบลบือมังมีกลุ่มเสี่ยงต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก3อ2ส หมู่ละ 1 คน
7.ตำบลบือมังมีกลุ่มป่วยต้นแบบที่สามารถควบคุมโรคได้ดี หมู่ละ 1 คน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 00:00 น.